2013-04-26_22-03-44

หากคุณเป็นคนในวงการอี-คอมเมิร์ซตัวจริง เชื่อว่าชื่อ “แจ็ค หม่า” ได้เข้าไปอยู่ในลิสต์ลายชื่อ “ฮีโร่” ของคุณอย่างแน่นอน เพราะเขาคือผู้ก่อตั้ง อลีบาบา กรุ๊ป (alibaba group) บริษัทอีคอมเมิร์ซรายแรกๆ ที่กลายเป็นรายใหญ่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลานี้ ซึ่งปัจจุบันเฉพาะเว็บอีคอมเมิร์ซแบ่งออกเป็น 3 เว็บใหญ่ๆ ได้แก่

alibaba.com เว็บสำหรับบริาัทต่างชาติการดีลซื้อสินค้าตรงจากโรงงานในจีน (ตัวเว็บเป็นภาษาอังกฤษ)

taobao.com (อ่านว่า เถาเป่า) เว็บสำหรับใครก็สามารถลงขายสินค้าได้ที่นี่ (ตัวเว็บเป็นภาษาจีน)

2013-04-26_22-03-08

tmall.com (ชื่อเว็บภาษาจีนเรียกว่า เทียนเมา) เว็บสำหรับภาคธุรกิจหรือแบรนด์ดังสามารถเปิดร้านขายของได้ที่นี่ มีการเก็บค่าบริการรายปี และค่าเปอร์เซ็นต์สินค้าที่ขายได้

2013-04-26_22-02-24

เฉพาะ 2 เว็บหลัง ปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าสร้างรายได้ถึง 5 หมื่นล้านล้านบาท มากกว่า amazon และ ebay ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซของอเมริการรวมกัน

ด้วยเหตุนี้อาจจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้แล้วว่า “แจ็ค หม่า” เห็นอะไรในธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ไม่เหมือนกับ Jeff และ John ซีอีโอของ 2 เว็บอี-คอมเมิร์ซจากแดนมะกันมองเห็น

และนี่คือ วิสัยทัศน์ ของ “แจ็ค หม่า” กับการเปลี่ยนโลกอี-คอมเมิร์ซของจีนได้ถาวร

เว็บอี-คอมเมิร์ซที่จริงแล้ว คือ การทำแพล็ตฟอร์ม ไม่ขายของเอง

“แจ็ค หม่า” พูดเสมอว่า เป้าหมายการทำเว็บอี-คอมเมิร์ซไม่ว่าจะเว็บไหนๆ ในเครือเถาเป่าคือ การสร้างแพล็ตฟอร์ม หรือพื้นที่ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบกิจการค้าขาย สามารถใช้เป็นตลาดกลางขายสินค้าและได้รับเงินจริงๆ

โดยเขาจะไม่เสียเวลาทำสินค้าใดๆ มาขายแข่งกับลูกค้า ซึ่งก็คือ พ่อค้าที่มาเปิดหน้าร้านออนไลน์กับเขานั่นเอง ซึ่งไอเดียนี้แตกต่างอย่างสุดขั้วกับ Amazon ที่วันนี้ โกดังสินค้ามหาศาล ยิ่งต้องอาศัยการจ้างพนักงงานเป็นหมื่นๆ แสนๆ คน ทำให้ควบคุมลำบาก

2013-04-26_22-05-07

ดูภาพโกดังสินค้าอันมหึมาของ Amazon ได้ที่นี่

ปรับตัวเข้าสู่ Mobile Era อย่างเต็มตัว

“แจ็ค หม่า” ย้ำกับพนักงานแผนกมือถือว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้ยอดขายผ่านทางมือถือมากกว่าเว็บ หรือพูดตรงๆ ก็คือ ฆ่าเว็บไซต์ไปเลยถ้าทำได้ เพราะต้องการกดดันให้เกิดภาวะการแข่งกัน และเขาก็เชื่อมั่นเหมือนซีอีโอคนอื่นๆ ว่า “อุปกรณ์เคลื่อนที่” คือสิ่งที่จะมาแทนจอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ได้อย่างแน่นอน แต่การรุกคืบในวงการมือถือของเครืออลีบาบา ไม่ใช่ทำแค่แอปฯ เพื่อให้ช้อปปิ้งบนมือถือ แต่ “แจ็ค หม่า” ปรับทั้งระบบ ได้แก่ การสร้างเซิร์ฟเวอร์ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และระบบปฏิบัติการมือถือของตัวเองในชื่อ Aliyun, การร่วมกับพันธมิตรผู้ผลิตมือถือ สร้างมือถือ Aliyun ที่ฝังความสามารถของการช้อปปิ้งเอาไว้เต็มที่, รวมถึงออกแอปฯ ที่ช่วยให้การค้าขายเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

รู้จักเลือกลงทุน และหาพันธมิตร

“แจ็ค หม่า” ไม่ชอบที่จะทำงานหนักและรวยอยู่คนเดียว ดังที่กล่าวไปแล้วว่าธุรกิจในเครืออลีบาบาที่ดูเหมือนจะเป็นเว็บอีคอมเมิร์ซ แต่แท้จริงแล้ว คือ บริษัทไอทีชั้นยอดที่สร้างแพล็ตฟอร์มทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายนั่นเอง แจ็ค บอกกับผู้ประกอบการหน้าใหม่เสมอว่าต้องรู้จักเลือกที่จะทำและไม่ทำอะไร

เขาเลือกที่จะ Alipay บริการจ่ายเงินออนไลน์ ที่วันนี้เกิดขึ้นได้กับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น พีซี มือถือ แท็ปเบล็ต โดยรูปแบบการใช้งานไม่ต่างไปจาก Paypal แต่ที่พิเศษกว่าและถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ทำให้ทุกการค้าในเครือ Alibaba ใหญ่โตก็คือ การนำกระแสเงินสดมาเป็นกองกลาง กล่าวคือ ทุกสินค้าที่ซื้อขายผ่านเถาเป่า และเทียนเมานั้น ไม่ได้เป็นการโอนเงินจากลูกค้าไปยังคนขาย แต่เป็นการโอนเงินจากเถาเป่าให้ผู้ขาย โดยหากผู้ซื้อพอใจในสินค้า เงินที่ขายได้ก็จะถูกโอนให้พ่อค้า เมื่อลูกค้าได้รับสินค้า ทางเถาเป่าจึงหักเงินจากลูกค้า วิธีที่ใจป้ำแบบนี้แหละที่ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในจีนเกิดและขยายตัวเร็วอย่างเกินความคาดหมาย

และสิ่งที่ Alibaba จะไม่ทำก็คือ สิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด เช่น การทำระบบขนส่ง แต่จะใช้การหาพันธมิตรที่ไว้ใจได้ มารับช่วงต่อแทน เพราะแจ็คเชื่อว่า การทำเฉพาะสิ่งที่ตัวเองถนัด เลือกแบ่งส่วนแบ่งให้พันธมิตร เพื่อทุกคนจะได้โตและรวยไปด้วยกัน เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ปัจจุบัน แจ็ค หม่า (ชื่อจีนคือ หม่า หยุน) บุคคลที่ครั้งหนึ่งเป็นเพียงคุณครูภาษาอังกฤษ แต่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ ที่ยังไม่เคยมีในดิกชันนารีอย่างการสร้างเว็บอีคอมเมิร์ซ ล่าสุดในวัยไม่ถึง 50 ปี เขาลาออกจากการเป็นซีอีโอของเครือ Alibaba แล้ว เพื่อหวังว่าการมีซีอีโอเลือดใหม่ จะช่วยผลักดันบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างสวยงาม โดยภายใน 2 ปี เขาวางแผนเปิดมหาวิทยาลัยสำหรับผู้ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการได้ลงเรียน

ดูคลิปวิดีโอการขึ้นเวทีพูดของแจ็คใหม่ ในงาน Asian  Investment Conference 2013 ที่ฮ่องกงได้ที่นี่

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซจีนได้ที่นี่

Alipay ไฮเทคทำระบบจ่ายเงินด้วยเสียงผ่านมือถือ

5 ข้อแนะนำสำหรับการทำธุรกิจกับจีน

Leave a Reply