ช่องทางการขายของออนไลน์ในปัจจุบันมีเยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งการขายผ่าน Social Media อย่าง Facebook ที่ไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะมี Live Shopping ออกมาให้พ่อค้าแม่ค้าใช้งานกัน ฝั่ง Google ก็มีทั้ง Google Shopping Ads, Google Shopping Tab ส่วน Marketplace ก็มีหลากหลายเว็บไซต์ถ้านับจำนวนคนเกินนิ้วมือแน่ ๆ แล้วไหนยังจะมีเว็บไซต์ของแบรนด์ที่ต้องทำอีก ช่องทางการขายเยอะขนาดนี้ แต่ช่องทางไหนล่ะที่จะ Win ที่สุดในปี 2021 ที่จะมาถึง มาหาคำตอบด้วยกันค่ะ

ช่องทางการขาย Vs ช่องทางการโฆษณา

ก่อนที่จะเราจะเข้าไปสู่ช่องทางการขายของออนไลน์ เราจำเป็นต้องแยกประเภทของระบบออนไลน์ไว้เป็น 2 ส่วนก่อน คือ ช่องทางการขาย กับ ช่องทางการโฆษณา เพราะสองช่องทางนี้มีความแตกต่างกันอยู่มาก อย่างเช่น Facebook Page เป็นช่องทางการขาย แต่ว่า หากคุณต้องการทำโฆษณา คุณอาจจะใช้ Facebook Ads และให้คนคลิกที่โฆษณา แล้วไปยังเว็บไซต์ แทนเข้าไปที่ Facebook Page ก็ได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่า เราจะเหมาว่า Facebook เป็นช่องทางการขายซะทีเดียวคงไม่ได้ ดังนั้นเรามาแยกกันก่อนนะคะ ว่าอะไรเป็นช่องทางสำหรับอะไร

ช่องทางการขาย คือช่องทางที่เราใช้ในการนำเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าแบบไม่ต้องเสียเงินโฆษณา ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการของคุณ ทำให้ลูกค้าสามารถพูดคุย ติดต่อสอบถาม หรือสั่งซื้อสินค้าของเราได้ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Brand.com, การขาย Marketplace อย่าง Shopee/Lazada และ การขายผ่าน Social Media อย่าง Facebook, Youtube, IG เป็นต้น

ช่องทางการโฆษณา คือ ช่องทางที่เรามีการจ่ายเงินค่าโฆษณาให้กับช่องทางนั้น ๆ เพื่อให้ช่องทางเหล่านั้นนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราไปยังผู้ที่มีโอกาสจะกลายเป็นลูกค้าของเรา โดยโฆษณาออนไลน์จะมีการเชื่อมโยงกับช่องทางการขายของเรา ตัวอย่างเช่น การลงโฆษณาผ่าน Social Media อย่าง Facebook Ads, Youtube Ads, การลงโฆษณาบน Marketplace หรือการลงโฆษณาผ่าน Google ด้วย Google Text Ads และ Google Shopping Ads

การที่เราต้องเข้าใจว่าช่องทางการขายของออนไลน์ กับช่องทางการโฆษณาออนไลน์เป็นคนละช่องทางกัน ก็เพื่อที่เราจะได้ใช้ช่องทางนั้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของช่องทางนั้น ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจของเรานั้นเอง

นิยามของช่องทางการขายของออนไลน์ยอดนิยม

  • เว็บไซต์ Brand.com เหมือนมีบ้านเป็นของตัวเอง จัดการตามความต้องการของตนเอง เน้นการสร้างแบรนด์
  • Marketplace เหมือนการขายใน ห้างสรรพสินค้า รวมสินค้าจากผู้ขายหลาย ร้าน จัดจำหน่ายในนาม Marketplace ผู้ขายอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ Marketplace
  • Social Commerce ขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) เน้นการพูดคุย การสื่อสาร 2 ทาง เหมือนการขายในตลาดนัด หากไม่ลงโฆษณา จะขายได้ฟรี

นิยามของช่องทางการโฆษณาออนไลน์ยอดนิยม

  • Social Media Ads เหมือนการวางป้ายบิลบอร์ดบนโลกออนไลน์ เหมาะในการเน้นการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ให้กว้าง ทำให้คนรู้จักแบรนด์
  • การลงโฆษณาบน Marketplace เปรียบเสมือนการตั้งป้ายโฆษณาในห้างสรรพสินค้า เน้นเข้าถึงคนที่มองหาสินค้าอยู่ ทำให้เขารับรู้ถึงแบรนด์ของเรา
  • Google Text Ads เหมือนพนักงาน Information บนโลกออนไลน์ ที่คอยให้ข้อมูลกับคนที่มีความต้องการมองหาข้อมูลของสินค้าหรือบริการต่าง ๆ
  • Google Shopping Ads เปรียบได้กับโบว์ชัวร์โฆษณาสินค้า ที่ถูกแจกให้กับคนที่กำลังมีความสนใจอยากจะซื้อสินค้าอยู่แล้ว ซึ่งในโบชัวร์จะมีทั้งภาพ ราคา และชื่อร้านค้า
  • Google Discovery เป็นโฆษณาที่แสดงในรูปแบบของรูปภาพ เปรียบเสมือนการวางป้ายบิลบอร์ดบนโลกออนไลน์ แบบเดียวกับ Social Media Ads แต่จะไปแสดงผลใน Youtbue หรือ Gmail แทน

สถิติ การรู้จักกับสินค้าของลูกค้าใหม่

สถิติน่าสนใจเกี่ยวกับการช่องทางการขายของออนไลน์

  • จากข้อมูลของ Alexa และ Similar Web พบว่า ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกเข้าสู่เว็บไซต์ Google.com เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ Youtube และมี Facebook กับ TMall แย่งกันอยู่ในอันดับที่ 3 – ข้อมูลจาก Hootsuite
  • ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมีการค้นหาสินค้าสูงถึง 80% และเคยเข้าชมเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าถึง 90% และอีก 74% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเคยสั่งซื้อสินค้า – ข้อมูลจาก Hootsuite
  • Search Engines เป็นช่องทางที่ลูกค้าได้รู้จักแบรนด์ใหม่มากที่สุด รองลงมาคือ TV, การบอกต่อกันปากต่อปาก และ Social Media Ads ตามลำดับ- ข้อมูลจาก Hootsuite
  • 53% ของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า พวกเขาจะเลือกซื้อออนไลน์บ่อยขึ้นหลังจากเกิดโรคระบาด และอีก 40% ของคนที่ไม่ใช่ผู้ซื้อออนไลน์มาก่อน ยังกล่าวว่า พวกเขาตั้งใจจะซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป – ข้อมูลจาก Google 

ช่องทางการขายไหนที่ Win ที่สุดในปี 2021

อยากทั้งข้อมูลสถิติที่กล่าวมาข้างต้น และยังมีนิยามของการขายในแต่ละช่องทาง เราจะเห็นได้ว่า ผู้คนเข้าชมช่องทางออนไลน์กันหลากหลาย และวิธีการเข้าถึงก็แตกต่างกัน รวมถึงจุดประสงค์ของแต่ละช่องทางก็ล้วนแตกต่างกัน ดังนั้นการที่จะบอกว่าช่องทางไหนจะ Win ที่สุด คงจะตอบไม่ได้ถ้าไม่พ่วงจุดประสงค์ทางการตลาด และ Customer Behavior เข้าไป ซึ่งในแต่ละจุดของ Journey ของลูกค้าก็จะมีช่องทางการขาย หรือช่องทางโฆษณาที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราอาจจะลองมองออกมาเป็นแบบแผนภาพด้างล่างนี้

e-commerce strategy การวางแผนการขายของออนไลน์

  • ในภาพนี้เราเริ่มต้นสร้างการรับรู้ด้วยการโฆษณา ให้เค้าเห็นผ่านตา ด้วย Social Media หรือ Google Ads ส่งโฆษณาในรูปแบบของรูปภาพหรือวีดีโอเข้าไปให้ผู้คนได้เห็น ได้รับรู้ถึงแบรนด์ของเรา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่จะทำให้เขาได้รู้จักกับแบรนด์ของเรา เพราะหาเขาไม่รู้จักแบรนด์ของเราเลย ก็ยากที่เขาจะกลายมาเป็นลูกค้าของเราได้
  • หลังจากนั้น เราก็ใช้การทำ SEO ให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับต้น ๆ ของผลการค้นหาใน Google เพื่อที่ว่ามีใครมาค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้า และบริการของเราแล้ว เขาเหล่านั้นจะได้พบกับข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราทันที ซึ่งนอกจากการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับแล้ว คุณอาจจะใช้ทางลัดโดยการลงโฆษณาผ่าน Google Text Ads, Google Shopping Ads ช่วยก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้การขายผ่าน Marketplace เข้าถึงลูกค้ากลุ่มที่ชอบซื้อสินค้าบน Marketplace หรือ หวังให้ Marketplace นำข้อมูลสินค้าของคุณไปทำโฆษณาบน Search Engine ก็เป็นไปได้ ซึ่งสิ่งสำคัญของขั้นตอนนี้ นอกจากการทำให้ข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราติดอันดับต้น ๆ ของผลการค้นหาแล้ว ยังจะต้องทำให้ข้อมูลสินค้าหรือบริการของเรา “โดดเด่น” กว่าคู่แข่งอีกด้วยนะคะ
  • และเมื่อลูกค้าค้นเจอข้อมูลของเรา และคลิกเข้ามาดูข้อมูลแล้ว ขั้ยตอนถัดจากนั้นคงหนีไม่พ้นการ “ปิดการขาย” ซึ่งจะใช้ช่องทางไหนปิด ก็คงขึ้นอยู่กับว่าในขั้นตอนที่ลูกค้าพบเจอเรา เขาเจอเรา และเข้ามาหาเราทางช่องทางไหน ดังนั้นช่องทางใดก็ตามที่ให้ข้อมูลสินค้า-บริการ ช่องทางนั้นก็จะต้องเป็นช่องทางที่ปิดการขายไปด้วย ซึ่งลูกค้าบางคนอาจจะชอบสั่งซื้อผ่านเว็บ เพราะชอบเลือกของด้วยตนเอง ชำระเงินเองไม่ต้องเสียเวลาพูดคุย ในขณะที่ลูกค้าอีกคนอาจจะชอบทักมาคุย และสั่งซื้อผ่าน Chat ก็เป็นไปได้
  • ลูกค้าซื้อแล้ว อย่าลืมชวนให้มากด Like เพจ หรือจะขออีเมล/เบอร์โทร.ลูกค้าไว้ เพื่อติดต่อสอบถามฟีดแบ็กการใช้งานสินค้าหรือบริการของเรา รวมถึงยังสามารถเสนอขายสินค้าใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าคนเดิมได้อีกด้วย

สำหรับข้อมูลที่เราเล่ามานี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการตลาดออนไลน์ที่เราสามารถทำให้กับการขายสินค้าหรือบริการของเราได้ แต่จะใช้ทั้งหมดตามนี้ หรือเลือกใช้บางส่วนก็คงขึ้นอยู่กับ Strategy ของคุณแล้วล่ะค่ะ

ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่มีช่องทางการขายไหนที่ดีที่สุด แต่ว่าแต่ละช่องทางการตอบโจทย์จุดประสงค์ทางการตลาดที่ต่างกัน และ Behavior ของลูกค้าที่ต่างกัน

ช่องทางการขายของออนไลน์

ช่องทางการขายเยอะ จัดการยาก … ไม่ต้องปวดหัว เพราะ LnwShop ช่วยคุณได้

  • ไม่ว่าจะขายกี่ช่องทาง ก็ลงข้อมูลสินค้าง่าย ๆ ที่ LnwShop ที่เดียว แล้ว sync ไปขายได้ทั้งบน Google Shopping, Shopee, Lazada, Facebook Shop และ LnwMall
  • ตัดสต๊อก หรือจัดการออเดอร์ทุกช่องทางการขายรวมกันได้ในที่เดียวที่ LnwShop เพราะเรามีทั้งระบบการ sync ข้อมูลออเดอร์กลับมาจาก Marketplace ต่าง ๆ รวมถึงยังมีระบบบิลออนไลน์ Chatcommere ที่ช่วยให้คุณบริหารช่องทางการขายผ่าน Social Media ได้ง่ายขึ้น
  • ทำโฆษณา Google Text Ads, Google Shopping Ads ก็ทำได้ที่ LnwShop แบบที่ไม่ต้องเข้าใจศัพท์ยาก ๆ ของการทำโฆษณา หรือต้องนั่งปรับแต่ง Code ของเว็บให้เก็บข้อมูลได้ตามต้องการ เพราะระบบของเรา ทำไว้รองรับให้คุณหมดแล้ว!
  • รวมสถิติทุกการขาย ไว้วิเคราะห์ และวัดผลได้ที่เดียวที่ LnwShop เพราะเรารวมทุกข้อมูลการสั่งซื้อ ข้อมูลการเข้าชมเว็บ และข้อมูลการทำโฆษณา Google Ads, Google Shopping Ads ไว้ให้คุณทั้งหมด
  • นอกจากนี้ LnwShop ยังเก็บข้อมูลติดต่อลูกค้าคนสำคัญของคุณไว้ ซึ่งคุณจะนำข้อมูลไปทำการตลาด หรือดูแลลูกค้าหลังการขายก็ย่อมจะทำได้

บริการของ LnwShop ที่จะช่วยคุณจัดการช่องทางการขายของออนไลน์ และช่องทางการโฆษณา

ไม่ว่าใครก็มีร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเองได้ ด้วยระบบที่ครบครัน พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ด้วยตัวคุณเอง และหมดห่วงไม่ต้องกังวลกับความเปลี่ยนแปลงที่อยู่เหนือการควบคุมด้วย LnwShop

ไม่ใช่แค่นำสินค้าของคุณไปวางขายบน Lazada แต่บริการของเรายังช่วยให้คุณขายผ่าน Lazada ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคุณจึงสบายใจได้ว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นของคุณ จะไม่มีปัญหาจุกจิกตามมาแน่นอน

หมดกังวลเรื่องสต๊อกสินค้าเพราะเราเชื่อมทั้งข้อมูลสินค้า และรายการสั่งซื้อ มาให้คุณจัดการที่เดียว เมื่อจัดการทุกอย่างในที่เดียว งานก็ลดไปมากกว่าที่คิด ลดทั้งจำนวนงานที่ต้องทำ ลดทั้งโอกาสผิดพลาด

ไม่ใช่แค่การให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าแก่ลูกค้าเท่านั้น ด้วยระบบของ Facebook Shop ผู้ซื้อสามารถกดสั่งซื้อได้เลยทันทีจากบน Facebook ไม่จำเป็นต้องออกไปเข้าเว็บไซต์อื่นอีก ที่สำคัญ Facebook Shop ถูกออกแบบมาให้ใช้งานบนมือถือได้อย่างดีเยี่ยม ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าของคุณได้อย่างง่ายดายผ่านมือถือของพวกเขาทุกคน

นอกจาก Facebook Shop แล้ว  Instagram Shopping ก็เป็นอีกช่องทางการขายที่คุณไม่ควรพลาด ซึ่งการขายในช่องทางนี้สามารถทำได้โดยการดึงเอา Facebook Catalog มาสร้างเป็น Shop ใน IG ซึ่ง LnwShop เองก็ได้มีบริการดังกล่าวให้ร้านค้าใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่งบริการนี้จะแถมให้ร้านค้าได้ใช้งานฟรี เมื่อเปิดบริการ Facebook Shop หรือถ้าร้านไหนยังไม่มี Facebook Shop แต่เปิดใช้งานบริการ IG Shopping ก็จะสามารถใช้บริการ Facebook Shop ของ LnwShop ได้ฟรี

บริการ Google Shopping Tab จาก LnwShop จะทำให้สินค้าของคุณปรากฏบน Surfaces across Google โปรแกรมของ Google ที่อนุญาตให้สินค้าในร้านของคุณปรากฏเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์บน Google Shopping Tab, Google Search และ Google Image โดยไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ซึ่งบริการนี้ LnwShop เป็นผู้ให้บริการรายเดียวในประเทศไทย และ 1 ใน 3 ของ APAC ที่ช่วยในการเชื่อมข้อมูลของร้านค้าขึ้นไปยังระบบของ Google – อ่านเพิ่มเติมได้ที่ LnwShop 1 ใน 3 APAC Google Partner ช่วยร้านค้าออนไลน์ ก้าวสู่ Free Listings

งบโฆษณามีจำกัด ทำไมไม่เลือก ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ด้วย Smart Shopping Campaign ในการลงโฆษณาแบบ Google Shopping Ads ที่ช่วยคำนวณการแสดงผลของโฆษณาของคุณให้เอง สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าได้ แม้แต่ผู้ที่มีประสบการณ์เคยลงโฆษณาด้วยตัวเองยังเปลี่ยนมาใช้

โฆษณาด้วยข้อความเชิญชวน ที่เข้าถึงใจลูกค้าได้ดีเสมอมา ซึ่งรูปแบบการโฆษณานี้ จะเป็นการโฆษณาโดยใช้ข้อความดึงดูดให้คนที่ค้นหาข้อมูลสนใจในเว็บไซต์ของเรา ซึ่ง LnwShop มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการโฆษณา มาช่วยทำการวิเคราะห์ร้านค้าคุณ เลือกคีย์เวิร์ด สร้างข้อความโฆษณา และให้คำแนะนำอื่นๆ เพื่อให้โฆษณาแสดงผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ขยายโอกาสทางการตลาด ด้วยการส่งข้อมูลสินค้าไปโปรโมทบนเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาสินค้า Priceza.com เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา ที่รวมข้อมูลสินค้ามากกว่า 50,000,000 รายการ จากร้านค้าที่เชื่อถือได้ มาให้เปรียบเทียบราคา

สั่งซื้อได้ง่ายที่สุด จบง่ายในหน้าเดียว ! ด้วย ” 1-Page Checkout ” ไม่ว่าลูกค้าของคุณอาจมาได้จากทุกช่องทาง ขอเพียงคุณพร้อมบริการ  เมื่อลูกค้าทักแชทเพื่อต้องการสั่งซื้อแล้ว คุณเพียงสร้างใบสั่งซื้อที่ระบบหลังบ้านของ LnwShop และ Copy Link ส่งให้ลูกค้าได้ตรวจสอบยืนยันออเดอร์ เท่านี้ก็สะดวกสบายทั้งผู้ซื้อผู้ขาย ลดปัญหามากมายที่คุณเคยมีมา

เพิ่มช่องทางการขายผ่านตัวแทนอย่างเป็นระบบเพิ่มโอกาสสร้างรายได้แบบไร้ขีดจำกัด ช่วยลดงานที่ต้องทำซ้ำๆ ป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อปัญหาน้อยลง เวลาที่ใช้ในการทำงานลดลง คุณก็จะไม่ถูกจำกัดด้วยปริมาณตัวแทนจำหน่ายที่รับไม่ไหวอีกต่อไป

ไม่ว่าคุณจะขายผ่านหน้าร้าน ออกบูธ Event หรือ ขายออนไลน์ผ่านหน้าเว็บของตัวเอง, LINE, Facebook ข้อมูลการขายทุกที่จะเชื่อมต่อกันหมด ช่วยให้คุณตัดสต๊อกไม่ผิดพลาด ดูสรุปยอดขายทุกช่องทางก็ง่าย


ช่องทางการขายของออนไลน์ จะกี่ที่ก็จัดการง่ายที่ LnwShop

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-026-6417 อีเมล marketing@Lnw.co.th หรือกรอกข้อมูลเพื่อรอการติดต่อกลับได้ที่นี่