Free Listings

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ผู้ประกอบการค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific / APAC) ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากในการที่จะให้บริการกับลูกค้าและชุมชน รวมถึงกระบวนการทำงานของผู้ประกอบการเองก็ยังประสบปัญหามากมาย และในสภาวะการณ์นี้ ผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ได้มีการหันมาใช้งานระบบอีคอมเมิร์ซทดแทนการให้บริการแบบเดิมที่ได้รับผลกระทบจากสถานะการณ์ COVID-19 ทาง Google จึงมองหาแนวทางที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำนเนิธุรกิจต่อได้ได้ จึงได้เตรียมนำเอาบริการ Free Listings มาให้ผู้ประกอบการใน Asia Pacific / APAC ได้ส่งสินค้าขึ้นไปแสดงผลบน Google Shopping ได้ฟรีโดยไม่ต้องโฆษณา ซึ่งบริการนี้ Google ได้เริ่มให้เปิดบริการในอินเดียและอินโดนีเซียเมื่อปี 2019 แล้ว

บริการ Free Listings จะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลสินค้าของตนเองขึ้นไปแสดงผลให้กับผู้คนนับล้านที่เข้าใช้งาน Google ในทุกวันได้เห็นสินค้าโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินลงโฆษณา ส่วนในฝั่งของผู้ซื้อสินค้าบริการนี้จะส่งผลให้ผู้ซื้อสามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าที่มีความหลากหลายจากร้านค้าจำนวนมากที่ส่งข้อมูลขึ้นมาแสดงผลใน Shopping Tab ได้

และจากที่ Google ได้เปิดให้บริการนี้ ในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการที่ใช้งาน Free Listings และลงโฆษณา มียอดเข้าชมสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า และมีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นถึง 50% และเห็นผลได้ชัดที่สุดในผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง (กลุ่ม SME)

Free Listings

(Source: blog.google)

การเปลี่ยนแปลงของการค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิก

ช่วงเวลานี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแนวทางของการซื้อและขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพราะถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้จะมีการเติบโตเป็นอย่างมากอยู่แล้ว โดยในปี 2019 ตลาดอีคอมเมิร์ซมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ แต่การคาดการณ์ในตอนนี้คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2025 มูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซจะสูงถึง 3 แสนดอลลาร์ ซึ่ง COVID-19 เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วงเร่งการเติบโตนี้

จากข้อมูลการวิเคราะห์ของกูเกิล พบว่า

  • 53% ของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า พวกเขาจะเลือกซื้อออนไลน์บ่อยขึ้นหลังจากเกิดโรคระบาด
  • ในขณะที่เกือบ 40% ของคนที่ไม่ใช่ผู้ซื้อออนไลน์มาก่อน กล่าวว่า พวกเขาตั้งใจจะซื้อสินค้าทางออนไลน์ต่อไป
  • และผู้ซื้อ 1 ใน 3 ได้ซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาไม่เคยซื้อมาก่อน

และเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้รับมือกับการเปลี่ยนเปลงเหล่านี้ กูเกิลได้นำเสนอการฝึกอบรมทักษะผ่าน Grow with Google และ แชร์งานวิจัยและข้อมูลเชิงลึก ให้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ ภายใต้ชื่อโครงการว่า Playbook และร่วมถึงยังมีการสัมมนาผ่านออนไลน์เกี่ยวกับวิธีจัดการหน้าเว็บดิจิตอลให้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้กูเกิลได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับหลายพาร์ทเนอร์ เพื่อช่วยร้านค้าจัดการสินค้าและคลังสินค้าออนไลน์  ซึ่งรวมถึงพาร์ทเนอร์ระดับ Global อย่าง Shopify และพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคคือ Haravan ในประเทศเวียดนาม, Shopline ในไต้หวันและฮ่องกง และ LnwShop ในประเทศไทย

นอกจากการดำเนินการตามแผนงานเหล่านี้ กูเกิลยังหวังที่จะต่อยอด และพัฒนาแผนการนี้ต่อไป เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประการกอบในเอเชียแปซิฟิกในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้

สำหรับผู้ใช้งานที่มี Merchant Center และลงโฆษณา Google Shopping Ads อยู่แล้ว จะไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพื่อรับประโยชน์จากบริการนี้ แต่สำหรับผู้ใช้งานใหม่กูเกิลกำลังดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งานให้แล้วเสร็จในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

นอกจากนี้กูเกิลรอคอยที่จะได้ร่วมงานกับผู้ประกอบการค้าปลีกทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อสามารถหาสินค้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีส่วนช่วยให้การฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19 และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนระยะยาวในการค้าระดับภูมิภาค

(Source: https://www.blog.google/around-the-globe/google-asia/apac-free-listings)


สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่เปิดเว็บไซต์กับ LnwShop.com สามารถใช้บริการที่กูเกิ้ลกล่าวถึงในบทความนี้เพื่อส่งสินค้าขึ้นไปแสดงผลบน Google Shopping Tab ได้เช่นกันนะคะ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.LnwShop.com/store/google_shopping_tab ค่ะ

Google Shopping Tab