กลับมาอีกครั้งกับนโยบายช่วยลดหย่อยภาษีประจำปี ที่ปีนี้ 2567 ทาง ครม. ได้มีมติออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในชื่อโครงการ “Easy E-Receipt” มาตรการลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้า-บริการสูงสุด 50,000 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกข้อมูลให้ทราบกันค่ะ
เนื้อหาในบทความ
- Easy E-Receipt ช้อปสุดคุ้ม ลดหย่อนภาษีสูงสุด 5 หมื่นบาท
- ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการ Easy E-Receipt (Q&A)
- ร้านค้าเทพต้องการออก e-Tax Invoice ผ่าน LnwShop ต้องทำยังไง?
Easy E-Receipt ช้อปสุดคุ้ม ลดหย่อนภาษีสูงสุด 5 หมื่นบาท
เนื่องจากในทุก ๆ ต้นปี รัฐบาลจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศ ด้วยการออกโครงการต่าง ๆ มา ไม่ว่าจะเป็น ช้อปดีมีคืน หรือ e-Refund อย่างปี 2566
ซึ่งปีนี้ ครม. ก็ได้เคาะนโยบายลดหย่อนภาษีออกมาในชื่อโครงการ Easy E-Receipt ให้ประชาชนสามารถซื้อสินค้า-บริการ และนำใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไขที่ต่างไปจากปีก่อน ๆ คือ กำหนดให้ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีที่จะนำมาลดหย่อนต้องใช้เป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูป จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น
กรณีที่ซื้อสินค้า-บริการ จากร้านที่ไม่ได้จดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม ที่อยู่ในหมวดหมู่หนังสือ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, e-Book, e-Magazine และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของร้านที่ได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว อนุญาตให้ใช้ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากระบบของกรมสรรพากรได้
ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการ Easy E-Receipt
Q: ผู้ใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้ คือใคร
A: บุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
Q: สิทธิประโยชน์ที่ได้รับเป็นอย่างไร
A: หักลดหย่อนค่าสินค้าหรือบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูป (e-Tax Invoice) จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น
กรณีที่ซื้อสินค้ากับร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม จะซื้อสินค้าได้เฉพาะในรายการต่อไปนี้
- หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
- e-Book e-Magazine
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
ซึ่งร้านค้าต้องออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากระบบของกรมสรรพากร โดยต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย
Q: ค่าสินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการมีอะไรบ้าง
A: ค่าสินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนด (1 ม.ค. – 15 ก.พ. 67) เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
Q: ค่าบริการที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 67 แต่มีวันหมดอายุบริการ หลังวันที่ 15 ก.พ. 67 สามารถนำมาลดหย่อนได้ไหม
A: ไม่ได้ เพราะต้องเป็นบริการที่ซื้อและใช้ให้เสร็จสิ้น ภายในช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 67 เท่านั้น
Q: ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อน หมายถึงอะไร
A: ใบกำกับภาษีที่มีรายการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
- คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
- ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
- ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เช่น คำว่าเอกสารออกเป็นชุด สำเนาใบกำกับภาษี ฯลฯ
ทั้งนี้ e-Tax Invoice ต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้มีเงินได้ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดด้วย
Q: ลูกค้าทั่วไป สามารถขอ e-Tax จากร้านค้าได้ยังไง
A: สอบถามร้านค้าก่อนซื้อ ว่าสามารถออกใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูป (e-Tax Invoice) ได้ไหม หากเป็นร้านค้าที่ได้รับการอนุมัติ จะสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูป หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์จากกรมสรรพากรได้
อ่านข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่ คำถาม-คำตอบ (Q&A) มาตรการ “Easy E-Receipt”
ร้านค้าเทพต้องการออก e-Tax Invoice ผ่าน LnwShop ต้องทำยังไง?
ใครที่ต้องการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน LnwShop ในรูปแบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถติดต่อสอบถามทีมงานเพิ่มเติมได้ที่อีเมล support@LnwShop.com หรือกดปุ่มด้านล่างเพื่อกรอกข้อมูลติดต่อกลับ
และสำหรับร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ e-Tax Invoice by Email ด้วยตัวเอง ก็สามารถเปิดใช้งานตัวเลือกรับใบกำกับภาษีที่หน้าบิลออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าที่ต้องการขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยไปที่ระบบหลังร้าน > เมนู Tax Invoice > เปิดสวิตซ์ใช้งานที่หัวข้อ e-Tax Invoice
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ … e-Tax Invoice & e-Receipt
แหล่งข้อมูล