Banner - Revenue Online Platform แพลตฟอร์มออนไลน์นำส่งรายรับเข้าระบบ

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้!! กรมสรรพากรออกประกาศให้แพลตฟอร์มออนไลน์จัดทำบัญชีพิเศษนำส่งรายรับจากพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์เข้าระบบ เริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป

ประกาศจากสรรพากรฯ แพลตฟอร์มออนไลน์นำส่งรายรับจากร้านค้าเข้าระบบ

คาดว่าในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาหลายคนคงได้เห็นข่าวเรื่องนี้กันไปบ้างแล้ว แต่สำหรับใครตามไม่ทัน วันนี้เราก็จะมาสรุปข้อมูลให้ ดังนี้ค่ะ

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกประกาศให้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีรายได้หรือเคยมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท (ไม่รวมแพลตฟอร์มที่อยู่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย)

ต้อง “จัดทำบัญชีพิเศษ” หรือ บัญชีข้อมูลรายรับของแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับจากผู้ประกอบการที่เสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านแพลตฟอร์ม เข้าใจง่าย ๆ คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีการคิดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากร้านค้า ซึ่งตัวอย่างข้อมูลที่ต้องนำส่ง ได้แก่ รายรับค่าธรรมเนียม, ค่านายหน้า, เลขบัตรประชาชน, ข้อมูลบัญชีธนาคาร ฯลฯ โดยต้องนำส่งข้อมูลให้แก่สรรพากรภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

แพลตฟอร์มออนไลน์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทย และมีรายได้เกิน 1,000 ล้านบาท ได้แก่ แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส อย่าง Shopee, Lazada, TikTok Shop รวมไปถึง Grab, LINE Man ด้วย

โดยประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ สำหรับการส่งข้อมูลรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ซึ่งจะส่งผลให้ร้านค้าออนไลน์ที่มีหน้าที่ยื่นภาษีในปีนี้ ควรมีข้อมูลรายได้ที่ตรงกับข้อมูลของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่ส่งให้สรรพากรด้วยเช่นกัน

Revenue Online Platform แพลตฟอร์มออนไลน์นำส่งรายรับเข้าระบบ
[Photo by Christin Hume on Unsplash]

Q&A ไขข้อสงสัยร้านค้าเทพ??

Q : แพลตฟอร์มออนไลน์ตามที่ประกาศฯ กำหนด มีอะไรบ้าง
A : ต้องเป็นแพลตฟอร์มที่มีคุณสมบัติ ตามข้อกำหนดดังนี้

  1. เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จัดตั้งในประเทศไทย
  2. มี/เคยมี รายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท
  3. มีรายรับจากการคิดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
  4. ไม่ใช่แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ตัวอย่างเช่น Shopee, Lazada, TikTok Shop, Grab หรือ LINE Man เป็นต้น

Q : LnwShop มีการจัดส่งข้อมูลรายรับตามประกาศฯ ให้กับทางสรรพากรหรือไม่
A : เนื่องจากบริการของเราไม่เข้าข่ายในการส่งข้อมูลตามที่กำหนด จึงไม่ได้มีการจัดส่งข้อมูลในส่วนนี้

Q : ร้านค้าที่ใช้บริการผ่าน LnwShop ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า LnwShop, LnwShop Pro, LnwX หรือร้านค้าที่ใช้งานระบบเชื่อมต่อช่องทางขาย, ระบบรวมออเดอร์ หรือระบบเชื่อมต่อหลายร้านค้าบนแพลตฟอร์มเดียวกัน (Multi-Seller) ทาง LnwShop จะมีการจัดส่งข้อมูลตามประกาศฯ ให้สรรพากรหรือไม่
A : เนื่องจากบริการของเราไม่เข้าข่ายในการส่งข้อมูลตามที่กำหนด จึงไม่ได้มีการจัดส่งข้อมูลในส่วนนี้

Q : หากขายสินค้าหลายช่องทาง ทั้งบนเว็บไซต์ และ Marketplace ต่าง ๆ ควรรับมือตามประกาศนี้อย่างไร
A : ร้านค้าควรยื่นภาษีตามรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่องทางขาย เพื่อให้ข้อมูลตรงกันกับข้อมูลที่ทางแพลตฟอร์มออนไลน์นำส่งให้ทางกรมสรรพากร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง


ขายของออนไลน์ยื่นภาษีอย่างไร ในปี 2567

สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท/ปี สามารถคำนวณเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเช็คยอดภาษีที่ต้องจ่ายได้เลย แต่หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ก็จะต้องคำนวณภาษีมูลเพิ่ม (VAT) บวกเข้าไปในยอดภาษีด้วย

ทั้งนี้ สามารถดูวิธีการคำนวณภาษีอย่างละเอียด ที่บทความนี้ ว่าด้วยเรื่อง “ภาษี” กับ “ร้านค้าออนไลน์” ได้เลย

แพลตฟอร์มออนไลน์นำส่งรายรับเข้าระบบ

แหล่งข้อมูล