Search Engine Optimization หรือ SEO คือวิธีในการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้น ๆ ในผลการค้นหาบน Search Engine จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับโปรโมทร้านค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี แต่การปรับแต่งเว็บไซต์ตามคอนเซ็ปต์ของการทำ SEO นั้น จะต้องทำยังไงบ้าง ? วันนี้เราจึงขอเรียบเรียงแนวคิดในการทำ SEO จากบทความ ECOMMERCE SEO THE DEFINITIVE GUIDE  และประสบการณ์ของผู้เขียนมาให้ให้ทุกคนได้อ่านกัน

เหตุผลที่ SEO สำคัญสำหรับการขายของออนไลน์ ?

intro-1

จาก NChannel reports ผู้ซื้อกว่า 44% เริ่มต้นการช้อปออนไลน์จาก Search Engine

intro-2

และผลวิจัยของ According to Kissmetrics ยังบอกอีกว่า 30.5% ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ e-Commerce เข้ามาจาก Search Engine

intro-3

ไม่เพียงเท่านี้ แต่ข้อมูลจาก Custora shows ยังบอกอีกว่า 26% ของรายการสั่งซื้อในร้านค้าออนไลน์ มาจากผลการค้นหาของ Search Engine ในรูปแบบที่เรียกว่า Organic Search

capture-20161021-143322

Organic Search หรือ Natural Search คือผลการจัดอันดับแบบธรรมชาติ คือผลการค้นหาที่แสดงตามจริงบน Search Engine โดยไม่เสียค่าโฆษณาให้กับ Search Engine

และเพราะเหตุผลเหล่านี้แหละ ที่คุณควรเริ่มทำ SEO กับร้านค้าออนไลน์ของคุณ ! และไม่ต้องกังวลไปครับ วันนี้เรามีคำแนะนำในการทำ SEO มาฝากกันเรียกว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมือโปรกันเลย ว่าแต่มีอะไรบ้างตามมาศึกษากันเลย

———————

ตอนที่ 1: KEYWORD RESEARCH

ตอนที่ 2: โครงสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์

ตอนที่ 3: ON-PAGE SEO

ตอนที่ 4: TECHNICAL SEO

ตอนที่ 5: CONTENT MARKETING สำหรับเว็บขายของ

ตอนที่ 6: การสร้างลิงก์สำหรับเว็บไซต์ขายของ

———————

ตอนที่ 1: KEYWORD RESEARCH

Keyword ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำ SEO เพราะการค้นหาเว็บไซต์ผ่าน Search Engine นั้นจำเป็นต้องค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด ดังนั้นการเลือกคีย์เวิร์ดที่จะใช้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำ SEO ของเรานั่นเอง

keyword

ซึ่ง Keyword นั้น จะถูกนำไปใช้ในหลายส่วนของการทำ SEO อาทิเช่น การตั้งชื่อ URL หรือกระทั่งการวางโครงสร้างเนื้อหาของเว็บไซต์ จึงเรียกว่า Keyword คือหัวใจสำคัญอันดับหนึ่งในการทำ SEO ก็ว่าได้

มาเลือก Keywords ให้กับสินค้าของคุณกันเถอะ !

วิธีการเลือกหา Keyword มาใช้งานกับเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะแนะนำให้หาจากคำที่ถูกค้นหา แต่สำหรับคีย์เวิร์ดสำหรับ e-Commerce นั้น สามารถหาได้จากรายละเอียดของสินค้าของคุณ ว่าแต่จะหาได้ยังไงตามมาดูเลย

Amazon Suggest 

วิธีแรกที่อยากแนะนำคือ Amazon Suggest อย่างที่เราทราบกันดีว่า Amazon เป็นเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ด้าน e-Commerce ในเว็บจึงเต็มไปด้วยสินค้าจำนวนมาก และแน่นอนว่า เขาจะต้องมีการโฟกัสคีย์เวิร์ดของสินค้าอยู่แล้ว ซึ่งเราก็สามารถไปนำคำเหล่านั้นมาใช้ได้เช่นเดียวกันครับ (แต่ต้องเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันด้วยนะ)

“Amazon Suggest เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดภาษาอังกฤษ”

วิธีการค้นหาคีย์เวิร์ด จาก Amazon ทำได้ดังนี้

เริ่มต้นด้วยการเข้าไปที่ Amazon.com แล้วเสิร์ชชื่อสินค้าที่เราต้องการค้นหา Keywords

amazon-suggest

เนื่องจาก Amazon เป็นเว็บไซต์ที่มีสินค้าหลากหลาย Amazon จึงจะใช้คีย์เวิร์ดในรูปแบบที่เรียกว่า Longtail Keywords เพื่อเจาะกลุ่มผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด แต่สำหรับเราแล้ว เลือกมาใช้แบบโฟกัสสัก 2-3 คีย์เวิร์ดก็พอครับ

PRO Tip: Amazon มักจะมีการแนะนำว่าคีย์เวิร์ดที่เราค้นหานั้น อยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าประเภทไหน ซึ่งเราสามารถเลือกเอามาใช้เป็นคีย์เวิร์ดของหมวดหมู่ได้เช่นเดียวกันamazon-category-suggest

Keyword Tool Dominator

Keyword Tool Dominator เป็นเว็บไซต์ที่จะช่วยให้คุณค้นหา Keywords จากเว็บ Amazon ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยภายในเว็บนี้จะมีให้คุณกรอกชื่อสินค้าที่ต้องการค้นหาคีย์เวิร์ด

keywordtooldominator

หลังจากนั้นเว็บจะรวบรวมข้อมูลขึ้นมาแสดงผล และยังจัดอันดับให้ด้วยว่า Keyword ไหนที่มีคนค้นหามากหรือน้อยให้อีกด้วย

keywordtooldominator-results

ซึ่งการใช้งาน Keyword Tool Dominator  นี้ นอกจากจะช่วยให้การค้นหาคีย์เวิร์ดทำได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยแนะนำคีย์เวิร์ดให้มากกว่าการค้นหาเองผ่าน Amazon อีกด้วย

kwfinder

App.kwfinder.com เป็นเว็บที่ผมตั้งใจหาเพื่อมาใช้แทน Google Keywords Planner เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่งผมเอาไปสอน แล้วอยู่ดี ๆ Google ก็ไม่เปิดให้ใช้ Keywords Planner ฟรีแล้วซะอย่างนั้น พอสอนเสร็จผมก็เลยกลับมาตั้งใจหาเว็บที่ใช้หา Keywords ได้แบบที่ Google ทำได้ ส่วนใหญ่ต้องเสียเงินเพื่อใช้ หรือไม่ก็เป็นฟรี แต่ไม่มีภาษาไทย จนกระทั่งผมมาเจอเว็บนี้

**คำเตือน เว็บไซต์นี้ใช้หา Keywords ได้วันละ 5 ครั้งเท่านั้น**

ขั้นแรก ให้ทำการเปลี่ยนเป็นภาษาไทย และเลือกเป็นประเทศไทยก่อน จากนั้นจึงค่อยใส่ Keywords ที่ต้องการหา สามารถใส่คำอะไรก็ได้ที่ต้องการได้เลย เพราะสุดท้ายแล้ว เดี๋ยวเว็บนี้จะหา Keywords ที่เกี่ยวข้องมาให้เอง จากนั้นก็กด “Find Keywords”

หลังจากที่กดค้นหาเรียบร้อย ก็จะเจอหน้าตาประมาณนี้ ทางซ้ายจะเป็นข้อมูล Keywords อื่น ๆ ที่แนะนำ ส่วนทางขวาเป็นเว็บไซต์ที่ติดอันดับบน Google อยู่แล้ว เดี๋ยวผมจะอธิบายคำศัพท์ทีละตัวเลยแล้วกันนะครับ

Suggestion : คือ Keywords อื่น ๆ ที่มีคนค้นหา โดยเขาจะให้มาเพียง 25 คำ อยากได้เยอะกว่านี้ก็ต้องเสียเงิน
Trend : คือ ปริมาณการค้นหา 12 เดือนย้อนหลัง เพื่อดูว่ามีการค้นหาเดือนไหนมาก เดือนไหนน้อย
Search : คือ ปริมาณการค้นหาโดยประมาณ ใน 1 เดือน
CPC : คือ ราคาประมาณถ้าจะลงโฆษณา Google Adwords โดยค่าเงินเป็นดอลล่า
PPC : คือ ระดับของคู่แข่งที่ลงโฆษณา โดยไล่ระดับความยากง่ายจาก 0 – 100
DIFF : คือ ความยาก ง่ายในการทำ SEO ในแต่ละ Keywords โดยไล่ระดับตั้งแต่ 0 คือง่ายสุดถึง 100 คือยากสุด

มาถึงแถบทางขวามือ
Google SERP : คือลิงก์ที่ติดหน้าแรกอยู่แล้ว
ส่วนอื่น ๆ ที่เป็น DA, PA, MR, MT เป็นค่าทาง SEO เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์
Link : คือ ปริมาณลิงก์ที่ส่งเข้ามายัง URL นั้น ๆ ที่ติดอยู่ที่หน้าแรก
FB : คือ ปริมาณการแชร์ลิงก์นั้น ๆ ในเฟสบุคโดยประมาณ
G+ : คือ ปริมาณการแชร์ลิงก์นั้น ๆ ใน Google Plus (Social Media ของทาง Google เอง)
Rank : คือ ความยาก ง่าย ที่จะทำให้ลิงก์เหล่านั้นร่วงลงมาจากอันดับปัจจุบัน โดยไล่ระดับความง่ายตั้งแต่ 0 – 100
Est. Visits : คือ จำนวนคนคลิกเข้าในแต่ละเดือนโดยประมาณ

ข้อสำคัญที่ควรระลึกไว้เสมอสำหรับการใช้เว็บนี้ คือ ภายใน 24 ชั่วโมงนั้น เราสามารถค้นหา Keywords ได้เพียง 5 ครั้งเท่านั้น ดังนั้น จะค้นหาคำว่าอะไรก็ลองคิดดูดี ๆ ก่อนนะครับ ไม่งั้นต้องนั่งรอไป 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว

จากการทำลองแล้ว ถ้าอยู่ในวงแลน หรือวงอินเตอร์เน็ตเดียวกัน มันจะคิดรวมกัน เช่น ผมค้นหาไป 1 ครั้ง เพื่อนในที่ทำงานอีกคนหนึ่งค้นหาไป 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง หมายความว่า ทั้งที่ทำงาน มีโอกาสค้นหาได้อีกเพียงแค่ 1 ครั้ง ยังไงก็ต้องใช้ระวังหน่อยแล้วกันนะครับ

Marketplace Sugesstion

keyword

และการค้นหาคีย์เวิร์ดภาษาไทย สำหรับผู้ขายของออนไลน์คนไทยนั้น เราก็ขอแนะนำให้ลองใช้วิธีค้นหา Keyword จากในเว็บไซต์ตลาดกลางต่าง ๆ หรือเว็บประกาศซื้อขายสินค้าก็ได้ รับรองว่าใช้งานได้เหมือนกัน

ได้คีย์เวิร์ดมาแล้ว จะเลือกใช้คำไหนดีล่ะ

หลังจากที่เราได้ค้นหาคีย์เวิร์ดจากแหล่งต่าง ๆ มาแล้ว ก็ได้เวลา เลือกคำที่จะนำมาใช้จริงกับการขายของออนไลน์แล้วล่ะ

1. ดูปริมาณการค้นหา

เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือก Keywords เลย ถ้าคำที่เราเลือกไม่มีคนค้นหา ทำติดหน้าแรกของ Google ไปก็ไม่มีลูกค้าอยู่ดี ผมก็ไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณเท่าไหร่ถึงจะดี บางอุตสาหกรรม การมีคนค้นหา 100 คนต่อเดือน อาจจะเป็นตัวเลขที่เยอะมากแล้วก็ได้

วิธีการคือ ให้ลองเอา Keywords ที่ได้มาไปค้นหาใน Google Keywords Planner ลองเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยก่อน แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยเลือก

Pro tip: สำหรับบาง Keywords จะมีฤดูกาลในการค้นหาอยู่ อย่างเช่นคำว่า “Ugly Christmas Sweaters” ที่มีคนค้นหาในเดือนธันวาคมมากกว่าเดือนมิถุนายนมาก แต่บางคำก็ไม่ได้มีฤดูกาล อย่างเช่น “Organic dog food brands” ที่มีการค้นหาในช่วงตุลาคมมากกว่าเดือนพฤศจิกายน

สิ่งที่คุณควรคำนึงว่าควรจะเลือกคำเหล่านี้หรือไม่ ให้ไปดูจุดต่ำสุดของการค้นหาว่ามันมีมากพอหรือเปล่า ซึ่งเราสามารถดูอย่างรวดเร็วได้จากแผนภูมิ เพราะมันแสดงผลการค้นหาเป็นเดือนต่อเดือนอยู่แล้ว

** ในตอนนี้การเข้าไปใช้ Google Keyword Planner นั้น จำเป็นต้องมีการใช้บริการ Google Adwords ก่อนแล้วเท่านั้น ทำให้ในขณะนี้ไม่สามารถใช้ได้ฟรีแล้ว เว้นแต่เราเคยใช้งานมาก่อนหน้านี้ จะยังเข้าใช้งานได้ปกติ

2. ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในเว็บ

เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน ถ้าคุณเลือกคำค้นหาโดยที่อิงจากปริมาณการค้นหาที่เยอะไว้ก่อน บางทีมันอาจจะไม่เป็นเรื่องที่ถูกต้องนัก เพราะว่าบางที Keywords ที่เลือกมามันอาจจะไม่เข้ากับสิ่งที่คุณขายอยู่บนหน้าเว็บเลย ซึ่งถ้ามันมีความเกี่ยวข้องน้อยมาก คุณจะต้องทำงานหนักกว่าเดิมในการที่จะทำให้เว็บไปติดอยู่หน้าแรก

ก่อนที่จะไปเรื่องต่อไป ลองมาสำรวจ Keywords ดูอีกครั้งว่า เราได้เลือก Keywords ได้ตรงกับสิ่งที่เราขายแล้วหรือยัง อย่างเช่น ร้านขาย “กระเป๋าสีชาเขียว” แต่คุณไปเลือก Keywords ว่า “ผงชงชาเขียว”

แน่นอนคุณไม่ได้ขายผงชาเขียว แต่คุณขายกระเป๋า คุณต้องสร้างหมวดหมู่เพื่อรองรับ Keywords ที่คุณเลือก เพื่อที่ดึงลูกค้าเข้าเว็บมาแล้วพบว่าคุณไม่ได้ขายของอย่างที่เขาต้องการหรือเปล่า

จริง ๆ มันก็ทำได้ แต่ผมไม่แนะนำให้ทำ กับการที่จะเอา Keywords ที่อยู่คนละหมวดหมู่มาใช้ แต่ถ้าคุณมีปัญหาว่า สินค้าจริง ๆ ของคุณไม่มีคนค้นหา คุณอาจจะเลี่ยงคำให้เกี่ยวกว่านั้นขึ้นมาหน่อย อย่างเช่น “ชาเขียวออนไลน์” น่าจะเป็นทางที่ดีกว่า ถึงแม้ว่าคนค้นหาไม่ได้เยอะเท่า แต่น่าจะเป็นคำที่เกี่ยวข้องมากกว่า

3. เจตนาของคำที่ใช้ค้นหา

คำที่คนค้นหาเยอะ เป็นเรื่องที่ดี
คำที่คนค้นหาเยอะ แต่เป็นคำทั่วไป ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่

ก่อนที่จะเลือก Keywords ลองสังเกตซักนิดว่าคนค้นหาคำเหล่านั้นเพื่ออะไร เพื่อที่จะซื้อของ หรือมันแค่เป็นคำที่ธรรมดา ดูเหมือนจะถูกค้นหาโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะซื้อของเลย

ผมแนะนำให้ลองใช้ Google Keywords Planner เพื่อตรวจสอบคู่แข่งว่ามากน้อยขนาดไหน

คู่แข่ง ในที่นี้หมายถึงจำนวนคนที่จ่ายเงินเพื่อซื้อ Keywords เหล่านั้นใน Google Adwords ปกติแล้ว ถ้ามีคนซื้อ Keywords เหล่านั้นมาก แสดงว่ามันเป็นคำที่มีคุณภาพ และน่าจะทำเงิน ซึ่งในการทำ SEO ผมก็จะแนะนำให้เลือกเฉพาะคำที่มีคู่แข่งระดับ “กลาง” และ “สูง” เท่านั้น

คุณจะเห็นว่า คู่แข่งจะเป็นตัวชี้วัดว่า ถ้าคนค้นหาคำเหล่านั้นแล้วจะขายของได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดให้ไปดูที่ “ราคาประมูลแนะนำ” ที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าคนสามารถจ่ายเงินให้ Google ได้เท่าไหร่เพื่อให้คนคลิกโฆษณา ยิ่งมีคู่แข่งเยอะ ราคาประมูลก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม คำที่ราคาแพงก็หมายความว่าการติดอันดับนั้นยากขึ้นตามไปด้วย แต่เดี๋ยวจะพูดในหัวข้อถัดไป ตอนนี้อยากให้ลองไปดูราคาประมูลแนะนำในแต่ละคำก่อน

อยากให้สังเกตในคำที่สื่อความหมายว่าลูกค้าต้องการที่จะซื้อนั้นจะมีมูลค่าสูงกว่าคำปกติเสมอ เพราะคำปกติบางทีลูกค้าค้นหาโดยที่ไม่ได้มีความตั้งใจในการจะซื้อเป็นพิเศษ หรือบางทีอาจจะแค่ค้นหาเพื่อหาข้อมูลของชาเขียวเฉย ๆ ไม่ได้อยากจะซื้ออะไร

ดูตามตัวอย่างข้างล่าง จะเห็นว่าราคาประมูลสูงกว่าถึง 3 เท่าด้วยกัน

4. วิเคราะห์คู่แข่ง

สุดท้ายเราต้องมาดูว่า ถ้าเราจะขึ้นไปอยู่หน้าแรกมันจะยากขนาดไหน คู่แข่งของเราแข็งแกร่งแค่ไหน ผมแนะนำให้ลองใช้ SEM Rush เพื่อประเมินความยากง่ายของ Keywords ให้เราก่อน โดยการใส่ Keywords เข้าไปที่ช่องนี้

เลือก “Keywords Difficulty

หลังจากนั้นก็ดูความยากของ Keywords ได้ในช่อง “Difficulty, %” ตัวเลขยิ่งสูง นั่นก็หมายความว่ามีคู่แข่งโดยตรงอยู่ในอันดับต้น ๆ ซึ่งจะทำให้การทำ SEO นั้นยากขึ้นไปอีก

ตอนที่ 2: โครงสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์

โครงสร้างเว็บไซต์

โครงสร้างเว็บไซต์ – คือการจัดวางส่วนต่าง ๆ ของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับการทำ SEO และมันก็ยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกกับเว็บขายของ เพราะว่าเว็บขายของโดยเฉลี่ยแล้ว จะมีจำนวนหน้ามากกว่าเว็บบล็อค หรือเป็นเว็บแนะนำบริษัทธรรมดา

ผลการค้นหาเว็บลาซาด้า

ยกตัวอย่างเว็บไซต์ลาซาด้า ที่มีหน้าปรากฎใน Google เกือบ 2 ล้านหน้า

ยิ่งมีหลายหน้าก็ยิ่งต้องทำให้โครงสร้างเว็บไซต์มันง่ายสำหรับผู้เข้าชมเว็บไซต์ และง่ายสำหรับการค้นหา เพื่อที่จะได้เจอหน้าที่อยากเจอที่สุดได้ง่ายที่สุด

กฎทอง 2 ข้อสำหรับการวางโครงสร้างเว็บไซต์ขายสินค้า

กฎทองข้อที่ 1: ใช้งานง่าย และปรับปรุงเว็บไซต์ได้ง่าย

กฎทองข้อที่ 2: เพื่อไปยังหน้าต่าง ๆ ได้ใน 3 คลิก

ตัวอย่างสำหรับการวางโครงสร้างเว็บไซต์แบบผิด ๆ ที่ส่งผลเสียต่อ SEO

ตัวอย่างการวางโครงสร้างเว็บไซต์แบบผิด ๆ

วิธีการดู ให้ดูโครงสร้างจากบนลงล่าง

ความผิดข้อที่ 1: เข้าใจยาก เนื่องจากถ้าเราอยากซื้อสินค้า เราอาจจะหาทางไปไม่ถูก เนื่องจากบังคับคลิกเป็นขั้นตอน

ความผิดข้อที่ 2: มันปรับขนาดยาก คือ ทุกครั้งที่ต้องการจะเพิ่มหมวดหมู่ คุณจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความลึกของเว็บไซต์เข้าไปอีก รวมถึงจำเป็นจะต้องปรับหมวดหมู่ ที่มีอยู่แล้วรวมถึงหมวดหมู่ย่อย ๆ ในนั้นด้วย

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ SEO ในกรณีนี้คือ โครงสร้างแบบนี้มันดูลึกเกินไป สำหรับการขายสินค้า ซึ่งโดยปกติแล้ว การคำนวนค่า PR นั้นจะขึ้นอยู่กับหน้าแรกของเว็บไซต์เป็นหลัก (ค่า PR คือ คะแนนที่ Google คิดขึ้นมาเพื่อให้คะแนนกับหน้าเว็บหรือบล็อค)

โครงสร้างเว็บไซต์ที่ผิด

จะเห็นว่าโครงสร้างเว็บดังตัวอย่างนี้ ต้องใช้ถึง 6 คลิกกว่าจะถึงหน้าสินค้า ซึ่งได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า คุณต้องทำให้ไปถึงหน้าสินค้าได้ภายใน 3 คลิกหรือน้อยกว่านั้นถึงจะเป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีต่อ SEO

เทคนิคขั้นสูง: ถ้าคุณเริ่มมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ เราแนะนำว่าอย่าเพิ่งรีบทำอะไร จนกว่าคุณจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่อง SEO เสียก่อน เพราะเขาจะต้องจัดการลิงก์เดิม ให้เชื่อมไปอยู่ที่ลิงก์ใหม่ ในหน้าเว็บใหม่ก่อน เมื่อถึงตอนนั้น คุณค่อยจัดการปรับโครงสร้างเว็บไซต์ในเว็บของคุณ โดยที่คุณจะไม่เสียจำนวนการค้นหาเดิมจากเว็บเก่า

ตัวอย่างโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีต่อ SEO และยังทำให้ผู้เข้าเว็บไซต์ของเราชื่นชอบ

ตอนนี้คุณได้เห็นตัวอย่างที่ไม่ควรทำไปแล้ว ตอนนี้เราจะให้ดูตัวอย่างของโครงสร้างเว็บที่ดีกันบ้าง

อย่างที่คุณเห็น ความสำคัญคือการที่ต้องโฟกัสไปที่หน้าสินค้าและหน้าหมวดหมู่ (เราใช้ตัวอย่างจากหน้าสำคัญของเว็บไซต์ขายสินค้าส่วนใหญ่) ซึ่งส่วนนี้มันจะช่วยในเรื่องของค่า PR ใน Google ซึ่งมันจะทำให้จำนวนหน้าในเว็บไซต์ของเราถูกเก็บไปแสดงผลได้มากขึ้นอีกด้วย

ไม่เพียงแต่จะทำให้ดีต่อ SEO อย่างเดียว ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ก็ยังจะชื่นชอบอีกด้วย ด้วยโครงสร้างที่เรียบง่าย ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถหาสินค้าที่เขาต้องการได้อย่างง่ายดาย

เรามาดูตัวอย่างจริงที่ทำโครงสร้างเว็บไซต์ได้อย่างดีมากๆ คือเว็บ PetSmart.com ซึ่งจะให้ดูว่า ไม่มีสินค้าชิ้นไหนเลยที่ต้องใช้เกิน 3 คลิก

สมมติอยากได้จานข้าวสุนัข เข้ามาเราก็รู้เบื้องต้นแล้วว่า ควรจะ Click คำว่า “Dog”

หลังจากนั้น พอเลื่อนลงมาก็เจอและคำว่า “Bowl & Feeders”

เจอหรือยังครับ จานข้าวสุนัข ง่ายไหมครับ

เหมือนกันครับ คุณหาง่าย Google ก็จะหาง่าย และพร้อมที่จะรู้จักหน้าทุกหน้าที่คุณสร้างขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

ตอนที่ 3: ON-PAGE SEO

เอาล่ะ ตอนนี้คุณก็มีโครงสร้างเว็บไซต์ที่พร้อมแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องมาจัดการรายละเอียดแต่ละหน้าของหมวดหมู่ และหน้าสินค้า เว็บไซต์ขายของส่วนใหญ่ มันดูเข้าใจได้ว่า คนที่ค้นหาคำว่า “รองเท้าวิ่งไนกี้ เบอร์10” จะมีโอกาสซื้อมากกว่าค้นหาคำว่า “ซื้อรองเท้าวิ่ง” เฉย ๆ

ลองมาดูตัวอย่างของการใส่รายละเอียดในหน้าเพจที่ดีกัน

Title Tag: พยายามใส่คำดึงดูด เช่น “ซื้อเลย”, “ถูก”, “ราคาพิเศษ” เพื่อเน้นให้คนเห็นแล้วคลิกเข้ามา

สิ่งสำคัญ คือ อย่าลืมใส่ Keywords เข้าไปที่ Title Tag นอกจาก Keywords แล้วสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ อย่าลืมใส่คำขยายเข้าไปด้วย การใส่ Keywords ก็เพื่อให้ Google รู้ว่าเราขายอะไร ส่วนคำขยาย ใส่เพื่อดึงดูดคลิก

ตัวอย่างเช่น: ใส่ Target Keywords สำหรับหน้าหมวดหมู่ คำว่า “หูฟังตัดเสียงรบกวน” และอย่าลืมใส่คำขยายเหล่านี้เข้าไปด้วย เพื่อดึงดูดคนให้คลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์

  • ถูก
  • รีวิว
  • ดีที่สุด
  • ออนไลน์
  • ส่งฟรี

Title Tag อาจจะใส่เป็นแบบนี้

หูฟังเสียงดี ราคาเบา ๆ ตัดเสียงรบกวนได้ดีเยี่ยม

Title Tag: ใช้คำว่า “ลด xx%” และ “ราคาถูกที่สุด” เพื่อเพิ่มอัตราการคลิกเข้าเว็บ

Google ชื่นชอบเว็บที่มีอัตราการคลิกสูงอยู่แล้ว ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเขียน Title Tag ให้ดีๆ เพื่อเพิ่มอัตราการคลิกให้สูงขึ้น จริง ๆ มันเป็นเรื่องของการขายของออนไลน์ด้วย ถ้าอัตราการคลิกสูง ก็จะได้รับยอดการคลิกเยอะ และก็จะส่งผลให้ยอดขายเยอะตามไปด้วย

สำหรับคำดึงดูดนั้น ผมก็มีบางคำที่จะดึงดูดให้คนที่อ่านแล้ว อยากที่จะกดเข้ามาดูที่เว็บไซต์ ผมเรียกสิ่งนั้นว่า “คำดึงดูด” ซึ่งถ้าเอาไปใส่แล้วจะดึงดูดให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น คำดึงดูดอย่างเช่น

  • ลด xx%
  • การันตี
  • ถูก
  • ส่งฟรี
  • ลดราคา

และเมื่อคุณได้ใส่คำเหล่านี้ไปใน Title Tag หรือในช่อง Description Tag คุณจะพบว่าจะมี Click เพิ่มเข้ามาที่หน้าเว็บของคุณเอง ซึ่งหมายถึงปริมาณลูกค้าที่เยอะตามไปด้วย

สำหรับ Description Tag ก็มีความสำคัญเหมือนกัน เพราะการเขียน Description ได้ดีนั้นจะช่วยในการเพิ่มอัตราการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ได้ ซึ่งส่งผลต่อ SEO โดยตรง

Title Tag จะใส่คำดึงดูดเพื่อให้คนเห็น ส่วน Description จะเป็นพื้นที่ขยายความจาก Title
ตัวอย่างของ Description

  • ลดทันที xx% จากราคา xxx บาท
  • ลดราคาสินค้าทุกชิ้นภายในเว็บไซต์
  • จัดส่งฟรี เมื่อซื้อสินค้าในราคา xxx บาทขึ้นไป
  • คลิกเลย เพื่อดูโปรโมชั่นพิเศษในเว็บเรา

ตัวอย่างการเขียน Description

สำหรับการเขียนรายละเอียดข้อความในแต่ละหน้า ควรจะมีความยาว 1,000 คำขึ้นไป และมี Keywords อยู่ในนั้นประมาณ 3-5 คำก็พอ

การปรับปรุงหน้าสินค้าและหน้าหมวดหมู่ เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับการทำการตลาดของตัวร้านค้าเอง แน่นอน คุณต้องการข้อความที่มีคุณภาพ เพราะคุณต้องการให้คนเข้ามาแล้วซื้อของ ไม่เหมือนกันเขียนบล็อคธรรมดา

และเราขอเสนอแนวทาง 3 สิ่งสำคัญต่อการทำ On-Page SEO

 1. ผู้ขายของออนไลน์ควรใส่รายละเอียดแต่ละหน้าให้มากกว่า 1,000 คำขึ้นไป

มีการศึกษากันว่าถ้าเราใส่ข้อความที่ยาวกว่านี้ จะทำให้อันดับการค้นหาผ่าน Google ได้ดีกว่าหรือไม่

จริง ๆ การที่เราใส่ข้อความยาว ๆ เพื่อให้ Google ได้ศึกษาว่าในหน้านั้นคืออะไร และการที่ใส่ข้อความที่ยาว มันทำให้ Google มีข้อมูลศึกษาได้มากกว่า อีกทั้งเมื่อคุณโพสข้อความที่มากพอแล้ว มันยังจะทำให้ลูกค้าสามารถทำความเข้าใจในตัวสินค้าได้ดีขึ้นอีกด้วย

บางทีมันก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่คุณจะต้องเขียนทุกหน้าให้มีข้อความเกิน 1,000 คำ ซึ่งถ้าคุณมีสินค้าเยอะมาก ๆ เราขอแนะนำว่า ให้คุณใส่ข้อความยาว ๆ กับหน้าที่สำคัญ 50-100 หน้าก่อนก็ได้

2. โรย Keywords ไปที่ประมาณ 3-5 คำ

ในตอนที่คุณใส่ข้อความในแต่ละหน้า ให้คุณคิดอยู่เสมอว่า ในหน้านั้นต้องมี Keywords อยู่ที่ประมาณ 3-5 ครั้ง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับความหนาแน่นของ Keywords หรือการสลับ Keywords ตัวอย่างเช่น ร้านของเราต้องการทำ Keywords คำว่า “ราคา รถยนต์” ซึ่งการกลับสลับ Keywords คือ “รถยนต์ ราคา” ซึ่งสิ่งนี้เป็นการย้ำว่า ในหน้านั้น ๆ ของคุณกำลังพูดถึงเรื่องอะไร เพื่อให้ Google เข้าใจด้วยว่าคุณกำลังพูดถึงสิ่ง ๆ นั้น

อย่างเช่นในตัวอย่างที่ใช้คำว่า “6 quart crockpot” คุณก็ต้องดูให้แน่ในว่าคุณมี Keywords อยู่ในนั้นขั้นต่ำ 3 ครั้ง

ทริคเล็กๆ
Google ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นนิดหน่อยกับ Keywords ที่อยู่ในช่วงบน ๆ ของแต่ละหน้า ดังนั้น เพื่อเป็นการดี แนะนำว่าให้ใส่ Keywords คำแรกไว้ให้อยู่ภายใน 100 คำแรกของแต่ละหน้า

3. LSI Keywords (Latent Semantic Indexing) หรือคำที่มีความหมายคล้ายกัน

LSI Keywords เป็นการใช้คำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน เช่นถ้าเราใช้คำว่า “หูฟังตัดเสียงรบกวน” มันก็จะมีคำที่เกี่ยวข้องกับ Keywords ได้หลายแบบด้วยกัน เช่น

  • สมอลทอร์ค
  • การได้ยิน

เรามาดูวิธีการที่จะหาคำเหล่านี้กัน

Step 1: ดูจากเว็บคู่แข่งที่ติดอันดับอยู่แล้ว

หลังจากที่เราเลือก Keywords แล้ว เราก็ลองเอาไปค้นหา แล้วก็ Click เข้าที่เว็บคู่แข่ง แล้วค่อย ๆ อ่านไปอย่างบรรจง แล้วก็ดูคำที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กับ Keywords ที่เราต้องการ ได้มาแล้วก็จดไว้

Step 2: ใช้ Google Keywords Planner

นำคำที่ได้มาไปใส่ใน Google Keywords Planner เพื่อหาคำที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนเหมือนกับการหา Keywords

Step 3: ค่อย ๆ หยอดคำที่ได้ลงไปในบทความ

หลังจากที่เราได้คำมาพอสมควรแล้ว จริง ๆ ถ้าทำตามขั้นตอน น่าจะได้คำมาในปริมาณที่เยอะมาก ก็พยายามใช้คำเหล่านั้นใส่เข้าไปในข้อความแต่ละหน้าอย่างเหมาะสม

URLs ควรจะสั้น และมี Keywords อยู่ใน URLs

จากการวิเคราะห์กว่า 1 ล้านการค้นหาผ่าน Google Search โดยดูความเกี่ยวข้องระหว่างความยาวของ URLs กับอันดับ เราพบว่า URLs ที่สั้นจะติดอันดับได้ดีกว่า URLs ที่ยาว

การที่เว็บคุณเป็นเว็บขายของ โดยปกติแล้ว URLs ของคุณจะยาวกว่าเว็บไซต์ปกติทั่วไป เนื่องจากใน URLs ของคุณอาจจะประกอบไปด้วยหมวดหมู่หลัก, หมวดหมู่ย่อย จนถึงชื่อสินค้า ตัวอย่างเช่น

https://premiumstore.lnwshop.com/product/6/pre-order-กระดาษจดข้อความ

อย่างไรก็ตาม คุณก็ไม่ควรจะต้องมี URLs ที่มีความยาวเกินกว่า 50 ตัวอักษร เพราะมันจะทำให้ Google สับสน และส่งผลให้ความสำคัญของ Keywords ที่อยู่ใน URLs นั้นลดน้อยลงไป

การที่ใช้ URLs ที่ยาวไม่ได้ส่งผลต่อ SEO เท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อคนที่เข้าเว็บไซต์ด้วย เช่น เมื่อเราเปิดหน้าเว็บที่มี URLs ยาวมาก และยังโหลดหน้าไม่ขึ้น เราอาจจะงงได้ว่า เราเปิดดูอะไรอยู่ หรือใน URLs มีข้อความว่า product78245912456 ก็อาจจะทำให้ผู้ซื้อสับสน หรือเข้าใจผิดได้

สำหรับหมวดหมู่ ควรใส่เพียง 1-2 คำเท่านั้น เช่น
https://lnwshop.com/kitchenappliances

เช่นเดียวกับการใส่หมวดหมู่ย่อย เช่น
https://lnwshop.com/kitchenappliances/slowcookers

ในส่วนของสินค้า ถ้าชื่อยาวหน่อย ก็แนะนำให้ใช้เครื่องหมายขีด (“-“) คั่นกลางระหว่างคำ เช่น
https://lnwshop.com/kitchenappliances/slowcookers/6-quart-crockpot

ทริคเด็ด
เว็บไซต์ขายของบางที่จะนำหมวดหมู่และหมวดหมู่ย่อยออกจาก URL อย่างเช่น
https://lnwshop.com/kitchenappliances/slowcookers/6-quart-crockpot

ก็จะเหลือเพียง
https://lnwshop.com/6-quart-crockpot

มันทำให้ URL ของคุณสั้นลง และมีความหนาแน่นของ Keywords ดีขึ้น แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราแนะนำ แต่ถ้าคุณได้ทำมันไปแล้วก็ไม่เป็นไร มันก็ไม่ได้ส่งผลเสียอะไรกับหน้าสินค้าหน้านั้นของคุณ

ลิงก์ภายใน: ลิงก์ธรรมชาติที่ส่งไปยังหน้าที่มีความสำคัญกว่า

สิ่งหนึ่งที่ส่งผลดีมาก ๆ ต่อการทำ SEO สำหรับเว็บไซต์ขายของ คือ การที่คุณมีลิงก์ภายในอัตโนมัติไปยังหน้าต่าง ๆ นั่นมันจะทำให้ คุณมีลิงก์ภายในมากมายมหาศาล เมื่อตอนที่คุณสร้างหน้าใหม่ ๆ ขึ้นมา

มันคุ้มกับการเสียเวลามาก กับการที่คุณมาตั้งใจทำลิงก์ภายในให้มันดี ๆ โดยเฉพาะการที่คุณทำลิงก์จากหน้าหนึ่ง ไปยังหน้าสินค้าหรือหมวดหมู่ ที่มีความสำคัญ

ยกตัวอย่างเช่น คุณมีหน้าบทความที่เขียนมา ที่สามารถสร้างลิงก์ได้ และมีหน้าสินค้าอยู่ตัวหนึ่ง ที่ติดอยู่ที่อันดับ 5 บนผลการค้นหาของ Google คุณก็ควรที่จะลิงก์จากบทความ มาเพิ่มให้กับหน้าสินค้าเพิ่มขึ้นอีก

เพิ่มการรีวิวสินค้า เพื่อให้มันมีค่าแสดงใน Google (Product Review Schema)

ถ้าคุณต้องการขึ้นไปอยู่ที่หน้าแรกของ Google แบบง่าย ๆ แล้วละก็ การใช้ Rich Snippets ก็เป็นทางหนึ่งที่น่าสนใจที่จะทำเหมือนกัน ซึ่งการที่คุณเป็นเว็บขายของ คุณจะได้เปรียบเรื่องนี้อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น

คุณสามารถเพิ่มสิ่งนี้เข้าไปได้ง่าย ๆ ที่หน้าสินค้า โดยการใส่ SchemaMarkup สิ่งนี้มันเป็นเพียงโค้ดง่าย ๆ ที่คุณสามารถใส่เข้าไปได้เลยที่หน้าเว็บไซต์ ซึ่งโค้ดนี้มันทำให้ Google และเว็บไซต์ที่ให้บริการแบบ Google เข้าใจหน้าที่คุณใส่สิ่งนี้เข้าไปได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการใส่

แต่ไม่ได้การันตีว่า การใส่สิ่งนี้จะทำให้สามารถแสดงผลที่หน้า Google ได้ มันแค่มีโอกาสที่จะขึ้นได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเพียงฟังก์ชั่นเสริมที่เพิ่มเข้ามาในหน้าเว็บไซต์เฉย ๆ ถ้าอยากลองทำเอา เราแนะนำให้ลองไปศึกษา Google Excellence เพิ่ม ซึ่งตั้งค่าไม่ยาก

ตอนที่ 4: TECHNICAL SEO

Technical SEO เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับทุกเว็บไซต์ และสำคัญยิ่งไปอีกถ้าเป็นเว็บขายสินค้า เนื่องจากเว็บไซต์ขายสินค้านั้นมีหน้าที่จะต้องเข้าไปจัดการในจำนวนมากมายมหาศาล อย่างเว็บเล็ก ๆ บางทีก็มีถึง 5,000 กว่าหน้าเข้าไปแล้ว และทุกหน้าก็จะต้องเพิ่มในเรื่องของ Technical SEO เข้าไปอีก

ไม่เพียงเท่านั้น เว็บไซต์ขายสินค้าส่วนใหญ่ไม่มีลิงก์มากนัก นั่นหมายความว่า Technical SEO จะเป็นตัวตัดสินเลยว่าใครจะมาอยู่ที่หน้าแรกของ Google ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของคุณกับคู่แข่งนั้นทำเว็บไซต์มาได้คุณภาพสูสีกันมาก กินกันไม่ลง ดังนั้น มันจะไปตัดสินกันที่ Technical SEO ซึ่งมันอาจทำให้คุณกระโดดจากที่ 5 ขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 1 ได้เลย

 การนำ Technical SEO ไปใช้ในเว็บไซต์

ในตัวอย่างจะใช้เครื่องมือของ Raven Tools ซึ่งมันดูจะใช้ง่าย และเข้าใจง่าย แต่จริง ๆ แล้วก็มีเครื่องมือ SEO อีกหลายตัวที่สามารถใช้ได้ เช่น

สำหรับ Raven Tools ให้ไปที่ “Site Auditor” จากเมนูฝั่งซ้าย

หลังจากนั้น Raven Tools จะสามารถวิเคราะห์ความผิดพลาดของเว็บไซต์ได้

หลังจากนั้นก็จะได้รายงานความผิดพลาดออกมา

เช่น ปัญหาในเรื่องของการใช้ Title และ Description

บทความซ้ำ หรือหน้าที่มีจำนวนคำน้อยเกินไป

Link เสีย

จะเห็นว่าเว็บไซต์นี้มีปัญหาความผิดพลาดในการทำ SEO เต็มไปหมด ตอนนี้เรามาดูกันว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไง

วิธีแก้ปัญหา Technical SEO เบื้องต้นสำหรับเว็บไซต์ขายของ

  • ปัญหา: จำนวนหน้ามากเกินไป

จำนวนหน้ามากมายที่เป็นปัญหาเรื่อง Technical SEO เกิดจากการที่จะเขียนบทความให้มีความแตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากและเหนื่อย กับจำนวนหน้าที่มีทั้งหมด นั้นจึงทำอาจเกิดปัญหาการทำบทความซ้ำขึ้นมาในแต่ละหน้า

  • เกิดขึ้นได้อย่างไร

เว็บขายสินค้าบางเว็บมีสินค้าพร้อมขายจำนวนมากมาย และสินค้าแต่ละตัวก็ต้องแยกหน้ากัน ซึ่งบางทีมันก็เป็นสินค้าตัวเดียวกันจริง ๆ อย่างเช่น การที่มีรองเท้าที่แตกต่างกัน 15 ไซส์ แล้วแต่ละไซส์ก็แยก URL กัน ซึ่งมันทำให้เว็บไซต์ขายของดูใหญ่เกินความจำเป็น

  • แก้ไขอย่างไร

ขั้นแรก ให้แยกหน้าที่สามารถลบได้หรือหน้าที่ Google ไม่ได้เข้าไปเก็บมาไว้ก่อน

จากประสบการณ์ของเว็บไซต์ขายของส่วนใหญ่ประมาณ 80% นั้นจะมีสินค้าที่ขายได้จริง ๆ อยู่ประมาณ 20% เท่านั้น และมากกว่า 60% ของสินค้าทั้งหมด เป็นสินค้าที่ไม่สามารถขายได้มาเป็นปีแล้ว

สิ่งที่ทำได้คือ ให้พยายามลบหน้าเหล่านั้นทิ้ง หรือไม่ก็ทำให้ Google ไม่ต้องเข้ามาเก็บหน้านั้น (เรียกการทำ Noindex) หรือรวมหน้าเหล่านั้นให้กลายเป็นหน้าใหญ่หน้าเดียว

คุณสามารถใช้ตัวช่วยจัดการเว็บไซต์ขายสินค้า (เช่น Shopify) เพื่อดูว่าสินค้าตัวไหนที่ขายไม่ได้แล้ว หรือถ้าไม่มี ก็ใส่ Link เหล่านั้นให้ไปอยู่ในส่วนที่มีโอกาสที่จะลบทิ้ง

หรือหน้าเว็บไซต์ที่ไม่ค่อยมีคนเข้า เราลองมานั่งพิจารณาดูว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับหน้าเหล่านี้ เพราะหน้าเหล่านี้จะส่งผลต่อการทำให้การทำ Technical SEO ยุ่งยากขึ่นไปอีก บางกรณีอาจจะพบหน้าที่เป็นตัวถ่วงอยู่ที่ประมาณ 5-10% แต่บางทีอาจจะเจอถึง 50% เลยก็มี

หลังจากที่ได้ลองลบหน้าเหล่านั้นออกไปแล้ว ก็ค่อยถึงเวลาไปนั่งจัดการพัฒนาหน้าที่เหลือให้มันดีขึ้น

  • ปัญหา: บทความซ้ำกัน

บทความซ้ำกันเป็นหนึ่งในปัญหาที่เกิดมากที่สุดในเว็บไซต์ขายของ และเป็นหนึ่งในสิ่งที่ Google จัดได้อย่างง่ายดายด้วย Google Panda ที่ดีที่สุด คือ คุณควรจะต้องเขียนบทความใหม่ทุกครั้ง

  • เกิดขึ้นได้อย่างไร

มีหลายสาเหตุด้วยกันที่ทำให้เกิดบทความซ้ำกัน และนี่เป็น 3 สาเหตุหลักที่เราพบ

แบบแรก เว็บไซต์สร้าง URLs ขึ้นมาใหม่เองสำหรับในทุก ๆ หน้าสินค้าหรือหน้าหมวดหมู่ อย่างเช่น ถ้าคุณมีเมนูลักษณะแบบนี้

หลังจากนั้นมันก็จะสร้าง URL ใหม่ขึ้นมาทุกครั้งที่ลูกค้า Click เพิ่มหมวดหมู่หรือสินค้า

ซึ่งถ้าถูก Google Index (คือ Google เข้ามาเก็บข้อมูลของหน้านั้น) มันก็จะเกิดบทความซ้ำขึ้นมากมาย สิ่งนี้มันมักจะเกิดกับสินค้าชนิดเดียวกัน อย่างเช่นรองเท้าที่มีหลายขนาดหรือหลายสีหลายแบบ

แบบที่สอง มีบทความต้นแบบ ที่จะเอาไว้ใช้กับหลาย ๆ หน้า จริง ๆ มันก็ดีที่จะมีต้นแบบเอาไว้ดูเพื่อใช้กับทุกหน้า แต่ถ้าเกิดตัวต้นแบบมีข้อความที่เหมือนกันเกิน 100 คำขึ้นไป มันจะกลายเป็นบทความซ้ำทันทีสำหรับ Google

แบบสุดท้าย ใช้ Description เหมือนกันทุกหน้า มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับสินค้าบางตัวที่คล้ายกัน หรืออยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน

  • แก้ไขอย่างไร

สิ่งแรกที่ทำได้คือทำการ Noindex หน้าเหล่านั้นก่อน เพื่อไม่ให้ Google เข้ามาหน้าเหล่านั้นเจอ แต่คุณก็ยังต้องไปแก้ไขหน้าบทความซ้ำอยู่ดีถ้าทำได้

แต่ถ้าหน้าฟิลเตอร์หมวดหมู่ที่มันสร้าง URLs ใหม่ขึ้นมาเองแบบตัวอย่างที่เคยกล่าวไปก่อนหน้า แบบนั้นก็ควรจะใส่ Noindex ให้หมด เพราะอาจจะแก้อะไรยาก

และเมื่อคุณได้ทำการ Noindex หน้าเว็บไซต์ทั้งหมดแล้ว ถึงเวลาที่เราจะต้องมาติด Canonical Tag (“rel=canonical”)

สมมติให้หน้า B ลอกบทความจากหน้า A มา เจ้าตัว Canonical Tag นั้นมันจะเป็นตัวบอก Google ว่า หน้า B กับหน้า A เนี่ยเหมือนกันนะ ซึ่งเมื่อ Google เห็นว่าเราติด Canonical Tag แล้ว ก็จะเข้าใจ และให้หน้า A เป็นหน้าหลักหน้าเดียว

ไม่เพียงแค่ Canonical จะช่วยเรื่องบทความซ้ำเท่านั้น แต่มันยังยังช่วยให้ลิงก์ภายในมีคุณภาพมากขึ้นด้วย เพราะว่ามันจะทำให้ลิงก์ที่มาในแต่ละหน้า เหมือนกับจะถูกเชื่อมโยงไปที่หน้าหลักหน้าเดียว

สุดท้ายถ้าคุณสามารถเขียนบทความที่แตกต่างกันในแต่ละหน้าสินค้าได้ครบถ้วนแล้ว คุณก็สามารถเอาตัว Noindex ออก หรือไม่ต้องติด Canonical URLs อีกแล้ว

มันเป็นเรื่องยากมาก ๆ สำหรับเว็บขายสินค้าที่มีเป็นพันหน้า แต่อยากให้ลองไปดูเว็บไซตืขายของขนาดใหญ่อย่าง Lazada ที่ติดหน้าแรก Google เยอะมาก ๆ

เพื่อทำให้งานง่ายขึ้น เราแนะนำให้สร้าง Template สำหรับสินค้าและหมวดหมู่ขึ้นมา เพื่อที่จะใช้ในการเขียนบทความ (ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป เรื่องการสร้าง Template บทความ)

  • ปัญหา: บทความสั้นเกินไป

บทความสั้นเกินไป เป็นปัญหาที่เจอกันเป็นปกติสำหรับเว็บไซต์ขายของ หลังจากที่คุณได้จัดการหน้าที่มีบทความซ้ำกันแล้ว หลังจากนั้นก็ควรจะมาจัดการในหน้าที่มีบทความที่สั้นเกินไป สิ่งนี้เคยเกิดผลเสียกับเว็บ Ebay เว็บขายของระดับโลกมาแล้ว เมื่อตอนที่ Google ออกระบบ Panda มาเพื่อจัดการบทความซ้ำ ทำให้ยอดคนเข้าจากการค้นหาลดลง 33% จากหน้าที่มีบทความที่สั้นเกินไป

จากการติดตามข้อมูลการค้นหาใน Google มากว่า 1 ล้านข้อมูล ยังพบว่า หน้าที่มีบทความที่ยาว อยู่อันดับสูงกว่าหน้าที่มีบทความสั้น ๆ

สำหรับเรา ก็อยากจะแนะนำว่า เบื้องต้นก็ทำให้บทความเราในหน้าที่ติดอันดับ ยาวกว่าคู่แข่ง ก็พอจะใช้ได้แล้ว

  • เกิดขึ้นได้อย่างไร

เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดบทความที่สั้น คือ การที่คนเขียนต้องเขียนบทความให้กับสินค้าตัวเดียวกัน ในหลาย ๆ ชิ้น คือให้ลองนึกถึงตัวเองเขียนบทความเกี่ยวกับรองเท้าวิ่ง 25 แบบที่แตกต่างกันดูสิ แถมยังจะต้องเขียนให้ยาวกว่า 500 คำอีก ซึ่งจริง ๆ เอาให้ดีต้องเขียนถึง 1,000 คำด้วยซ้ำ

  • แก้ไขอย่างไร

ก่อนอื่นให้แยกเพจที่มีบทความสั้น ๆ ออกมาก่อน เราก็มีเครื่องมือแนะนำของ Raven Tools ที่จะช่วยคุณได้ในการหาบทความที่สั้น เบื้องต้นให้เลือกตัวที่ต่ำกว่า 250 ตัวอักษรออกมาก่อน

หลังจากที่แยกออกมาแล้ว ก็ให้ลองหา Template การเขียนสินค้า เพื่อที่จะใช้ได้ในกับทุกหน้าสินค้า หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่อยู่ในเว็บ แล้วเขียนมันออกมาตามนั้น สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเขียนบทความได้เร็วขึ้น เบื้องต้น ลองใส่รายละเอียดตามนี้ดูก็ได้

  1. ข้อมูลเบื้องต้นของสินค้า อาจจะใช้ประมาณ 50-100 คำ โดยใส่ว่าสินค้านี้ทำอะไรได้บ้าง แล้วใครที่จำเป็นต้องใช้มัน
  2. ลิสรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าตัวนั้น
  3. รายละเอียดเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่างการใช้, รางวัลต่าง ๆ , จุดแข็ง หรือภาพสินค้าที่กำลังถูกใช้งาน
  4. ปิดท้าย 50 คำ โดยเน้นเรื่องการปิดการขาย

ทริค: ความจริงบทความที่เขียน ควรจะเป็นข้อดีของสินค้าที่เกิดจากการใช้ เขียนตามความรู้สึกของตัวเอง สะท้อนภาพลักษณ์ของสินค้าออกมา นี่แหละจะช่วยให้สินค้าคุณโดนใจลูกค้าและ Google

  • ปัญหา: เว็บช้า

เรื่องเว็บช้าเป็นหนึ่งใน Algorithm ที่ Google เข้ามาดูหน้าเว็บ มันไม่ได้มีส่วนสำคัญต่อการทำ SEO แต่มันส่งผลโดยตรงกับส่วนที่สำคัญที่สุดในหน้าเว็บ (คือมันไม่ใช่ส่วนหลักในการเอาไปคำนวนคะแนน SEO แต่มันส่งผลต่อการเข้ามาเก็บคะแนนในแต่ละหน้า)

  • เกิดขึ้นได้อย่างไร

สามส่วนสำคัญที่ส่งผลให้หน้าเว็บโหลดช้า

  1. เป็นเว็บใหญ่ โดยปกติเว็บไซต์ขายของจะช้าประมาณหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งไม่เหมือนกับเว็บบล็อคอย่าง WordPress คุณไม่สามารถติดตั้งเครื่องมือเพื่อเข้าไปหาวิธีการทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้น
  2. รูปภาพใหญ่ รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ มันดีต่อลูกค้าของคุณที่จะเห็นรายละเอียดสินค้าได้อย่างชัดเจน แต่มันก็ทำให้เว็บคุณโหลดช้าด้วยเช่นกัน
  3. ช้าที่โฮสและเซอเวอร์ เมื่อเป็นเรื่องนี้ คุณต้องไปหาผู้ให้บริการของคุณว่า ราคาที่คุณจ่ายนั้นเหมาะสมหรือเปล่า หรือถ้ามันเป็นปัญหาที่ผู้ให้บริการโฮสเอง ก็อาจจะต้องพิจารณาในการเปลี่ยนเจ้า

ทั้งสามข้อที่กล่าวมานั้น มันมีวิธีการแก้ที่ไม่ยาก

  • แก้ไขอย่างไร
  1. อัพเกรดโฮส เราไม่สามารถแนะนำผู้ให้บริการกับคุณได้ เพราะการตัดสินใจของคุณขึ้นอยู่กับความชอบและความต้องการของคุณเอง เช่น การให้คำปรึกษาดีไหม, ราคา รวมถึงเรื่องความปลอดภัย แต่ไม่อยากให้คุณจ่ายน้อยเกินไปนัก เพราะถ้าคุณไม่กล้าจ่าย มันก็จะเป็นปัญหากับเว็บคุณตลอดไป
  2. ลงทุนกับ CDN เป็นทางหนึ่งที่เร็วและถูก นี่เป็นทางหนึ่งที่จะลดความเร็วได้มากทีเดียว ที่สำคัญ CDN ยังสามารถป้องกันการถูกโจมตีและการถูกแฮกได้อีกด้วย
  3. จัดการกับขนาดรูปภาพในเว็บไซต์ เป็นปัญหาใหญ่ของเว็บไซต์ขายของ คุณต้องทำให้แน่ใจว่าตอนที่เอารูปไปใช้นั้น ได้ทำรูปให้พอดีกับเว็บไซต์แล้วหรือยัง

ตอนที่ 5: CONTENT MARKETING สำหรับเว็บขายของ

เหมือนเว็บไซต์ทั่วไป เว็บขายของสามารถเพิ่มจำนวนคนเข้าร้านค้าได้ โดยการเขียนบทความเพิ่มเข้าไปในเว็บไซต์ ตัวอย่างเว็บไซต์ขายเครื่องครัว ก็จะมีการเขียนเรื่องเทคนิคการใช้งาน, สูตรการทำอาหาร, สัมภาษณ์พ่อครัว อะไรประมาณนั้น

วิธีสร้างบล็อคอย่างง่าย

Step 1 หาว่าลูกค้าไปสิงสถิตอยู่ที่ไหน

ลองไปอยู่ในที่ที่ลูกค้าคุณอยู่ เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคิด, ความฝัน, ความกลัว และความต้องการของลูกค้าคุณ เพราะว่าเราไม่สามารถไปหาเขาในโลกความเป็นจริงได้ เราจึงแนะนำให้ลองไปหาว่า ลูกค้าของคุณเขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ไหน

อย่างเช่น ถ้าคุณขายเครื่องครัว คุณอาจจะเข้าเว็บ Pantip.com ห้อง “ก้นครัว” เพื่อเข้าไปดูว่าเขาคุยเรื่องอะไรกัน

Step 2 เรียนรู้คำที่เขาใจกันในการพูดคุย

ตอนนี้ให้หากลุ่มเป้าหมายของคุณ แล้วเริ่มพูดคุยกับพวกเขา ไม่ต้องกังวล มันไม่ได้ดูน่ารังเกียจอะไร คุณต้องสังเกตคำที่เขาใช้ ในการพูดคุยเรื่องปัญหาต่าง ๆ

นั่นจะเป็นคำที่เขาใช้ตอนค้นหาใน Google ตอนที่เขาไม่ต้องการจะซื้อสินค้า จะเป็นเรื่องดีมากถ้าคุณจะทำบทความเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว

Step 3 สร้างบทความภายใต้ Keywords เหล่านั้น

หลังจากนั้นก็เริ่มเขียนบทความได้เลย หลังจากนั้นเมื่อคุณทำเสร็จขั้นตอนทุกอย่าง ก็ให้กลับไปทำตามขั้นตอนแรกใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้เรื่อย ๆ คุณก็จะค่อย ๆ เริ่มมีคนเข้าชมเยอะขึ้น มีลูกค้า รวมไปถึง Backlink ที่จะตามมาเป็นผลพลอยได้

หลังจากมีเว็บแล้วก็ควรที่จะให้มี Link กลับมาที่เว็บไซต์เราด้วย การทำลิงก์จากบทความก็พอจะทำให้อันดับบน Google ของหน้าสินค้าหรือหมวดหมู่อันดับดีขึ้นมาได้อยู่บ้างเหมือนกัน แต่ไม่เท่ากับการส่งลิงก์ไปที่หน้าสินค้าหรือหมวดหมู่โดยตรง ซึ่งเทคนิคในบทนี้เป็นเทคนิคส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จริงแล้วยังมีอีกหลายเทคนิคที่สามารถทำได้ครับ

การทำลิงก์เข้าเยอะ ๆ นั้นก็ดี แต่ชนิดของลิงก์ที่เข้ามาก็ต้องใส่ใจด้วย โดย Link ที่เข้ามาควรจะเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน วันนี้จะมาพูดถึงการใช้แนวคิดตามทฤษฎี The Moving Man Method ซึ่งถูกใช้โดยคุณคริส ลอร์เซ่น (Chris Laursen) แล้วได้ผล จึงยกตัวอย่างมาให้ดู

นี่เป็นลิงก์จากเว็บที่ขายสินค้าเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

เป็นลิงก์จากเว็บที่เกี่ยวกับข่าวแมคบุ๊ค

นี่เป็นลิงก์ที่มาจากเว็บนิตยสารที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

และจะดีมากถ้าจะมีลิงก์ที่ส่งไปหน้าสินค้าและหมวดหมู่โดยตรง

เรามาดูกันดีกว่าว่าคริสทำอย่างไร

ขั้นที่ 1 หาเว็บไซต์ที่หมดอายุ หรือที่ถูกย้ายโดเมนไปแล้ว

เป็นปกติอยู่แล้วสำหรับคนทำ SEO ที่จะไม่ค่อยอยากที่จะเอาเว็บไซต์ตัวเองไปเพิ่มมูลค่าให้กับเว็บไซต์อื่นโดยไม่ได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทน นั่นจึงเป็นที่มาของการที่จะต้องสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเอง โดยไปหาจากเว็บไซต์ที่หมดอายุ ที่ไม่ได้ต่อโดเมนแล้ว โดยผมจะพาไปดูว่าเขาทำกันอย่างไร

วิธีสังเกตเว็บไซต์ที่หมดอายุ ก็คือ เวลาเราเข้าเว็บไซต์เราจะเจอเว็บไซต์หน้าตาประมาณนี้ ที่เขาเรียกกันว่า Parked Page

การทำอย่างนี้มันจะทำให้ หน้าเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมันจะยังใช้งานได้อยู่ และเครื่องมือตรวจสอบลิงก์เสียก็จะไม่รู้ว่าลิงก์นั้นเสีย หรือจะหาเจอก็ยากมาก ซึ่งมันเป็นข้อดีของการใช้ Parked Page

ตัวอย่างเว็บ blockbuster.com ที่มีลิงก์กว่า 175,000 ลิงก์

เป็นข่าวใหญ่พอสมควรสำหรับการปิดตัวของเว็บไซต์ Blockbuster เพราะตัวเว็บเองนั้นได้สร้างลิงก์คุณภาพไว้มากมายในหลายปีหลัง ถ้าคุณอยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิง เว็บไซต์นี้ถือว่าเป็นขุมทรัพย์อย่างดีในการสร้างลิงก์เลยทีเดียว แต่เราจะหามันได้อย่างไรล่ะ

แผนที่ 1 หาโดเมนจากตลาดซื้อขายเว็บไซต์

ทันทีที่โดเมนหมดอายุ จะถูกซื้อทันทีด้วยเว็บใหญ่ ๆ อย่าง GoDaddy, Namejet หรือ Flippa

เว็บประมูลโดเมนจะรวบรวมเว็บที่หมดอายุทั้งหลายมาให้คุณเรียบร้อยแล้ว โดยโดเมนเหล่านี้จะถูกเก็บ Traffic หรือลิงก์เก่า ๆ ไว้อย่างดี เพื่อที่จะได้ง่ายสำหรับการเปลี่ยนมือ

แผนที่ 2 ข่าวการปิดกิจการ, การเปลี่ยนชื่อบริษัท หรือการรวมบริษัท

ลองค้นหาในหมวดข่าวใน Google เพื่อหาบริษัทที่จะปิด เปลี่ยนชื่อหรือไม่ก็เปลี่ยนโดเมน โดยอาจจะลองใช้ Keywords เหล่านี้ (แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษไปเลยก็ได้)

  • “Chapter 7” (Chapter 7 หรือที่แปลว่าบทที่ 7 หมายถึงบริษัทที่ล้มละลาย และคำว่า Chapter 11 หรือบทที่ 11 หมายถึงบริษัทที่มีการปรับโครงสร้าง)
  • “Business closes”
  • “Has closed”
  • “Out of business”
  • “Rebrands as”
  • “Bankruptcy”

แผนที่ 3 หา Parked Page

จะมีบางเว็บไซต์ที่จดโดเมนมา แต่ยังไม่มีเวลาทำ ยังไม่ได้เช่าโฮสติ้ง จึงต้องใช้บริการของเว็บที่ให้บริการ Parked Domain หลังจากที่สมัครแล้ว คนที่เข้าเว็บไซต์นี้มาก็จะเห็น Parked Page ที่อาจจะบอกว่าเว็บนี้อยู่ในช่วงกำลังสร้าง หรือยังไม่พร้อมใช้งาน

แต่หลายครั้ง Parked Page ถูกเอามาใช้เพื่อเก็บโดเมนที่หมดอายุไว้เพื่อรอขาย ที่อาจจะถูกซื้อโดยใครบางคนแล้วเอาหน้าตาบางอย่างมาครอบเว็บไซต์ไว้ เพื่อรักษาคุณภาพลิงก์ไว้ให้ได้มากที่สุดที่เป็นไปได้

วิธีการหา Parked Page โดยการค้นหาที่ Google ได้เลยว่า

“This page is parked FREE, courtesy of GoDaddy.com” +”domain is for sale”

อาจจะต้องใช้เวลาซักหน่อย แต่อยากให้ลองหาสักลิงก์มาเพื่อใช้งานให้ได้

กลับมาที่คริส เมื่อคริสได้โดเมนมาแล้ว ก็จะบอกกับ Parked Domain เพื่อทำ Parked Page โดยมีข้อความแบบนี้

เว็บไซต์ Edge Design นั้นเคยขายเคสไอโฟสมาก่อนที่จะถูกปิดตัวด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง ซึ่งสินค้าตัวนี้เป็นหนึ่งในสินค้าในเว็บของคริส

ขั้นที่ 2 เอาหน้าเว็บต่าง ๆ ที่หามาตรวจสอบคะแนนเว็บไซต์ หลังจากนั้นก็หาว่ามีเว็บอะไรลิงก์มาที่เว็บนั้นบ้าง

ให้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วอย่าง Ahrefs หรือ Majestic SEO โดยในตัวอย่างจะใช้ของ Ahrefs ซึ่งวิธีการก็ง่ายมาก เพียงแค่ใส่ URL ลงไป ก็จะได้คะแนนเป็นตัวเลขมา

ถ้าคุณเจอเว็บที่อ้างอิงมาที่นี่เยอะ ๆ ก็ลองเอาเว็บไปดูที่ Archive.org ดูก็ได้ เพื่อที่จะดูว่าก่อนหน้านี้เขาทำอะไรไว้ที่หน้าเว็บ หลังจากนั้นก็ลองทำอะไรที่คล้าย ๆ แบบนั้นในเว็บไซต์ของตัวเอง เพราะว่าคุณต้องเข้าไปอยู่แทนที่เว็บเก่า เพราะเดี๋ยวคุณต้องส่งอีเมลในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพมาก

หลังจากนั้นให้โหลดลิสของลิงก์ต่าง ๆ ออกมาให้หมด

ตอนนี้คุณก็จะได้ลิงก์ทั้งหมดที่เคยเชื่อมมาที่เว็บไซต์คุณเรียบร้อยแล้ว

ขั้นที่ 3 ส่งเมลแจ้งเพื่อเพิ่มลิงก์

หลังจากที่ทำทุกอย่างมาหมดแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาที่ทำให้ทุกคนรู้จักกับ Link ที่หมดอายุเหล่านั้น ซึ่งทางที่ดีที่สุดคือการกระจายข่าวออกไปผ่านอีเมล และนี่เป็นสคริปเบื้องต้นที่คุณสามารถนำไปใช้ได้

อย่างที่คุณเห็น คริสไม่ได้แค่บอกให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับว่าลิงก์เก่านั้นใช้ไม่ได้แล้วเท่านั้น ยังส่งข้อความเพื่อบอกให้เขาได้เปลี่ยนลิงก์ให้อีกต่างหาก

กรณีศึกษาในบทที่ 6 นี้เป็นการทำในแบบที่คริสทำ เท่าที่ได้ไปอ่านคอมเม้นในบทความต้นฉบับ หลายคนจะมีปัญหาในขั้นตอนสุดท้ายเรื่องการส่งเมล แต่เรื่องการทำเว็บไซต์ หาโดเมนนี้สามารถนำไปใช้ได้เลย

จบแล้ว!!!  จบแล้วล่ะครับสำหรับ 6 บทเรียนสำหรับการทำ SEO รับรองเลยว่า หากร้านค้าออนไลน์นำวิธีการเหล่านี้ไปใช้ จะทำให้เว็บไซต์ของร้าน ติดอันดับต้น ๆ ของ Search Engine ใน Keywords ที่ต้องการแน่นอน ว่าแล้วจะรอช้าทำไมครับ คลิกไปที่ร้านของคุณแล้วลงมือทำกันเลย!