2013-04-24_19-57-57

ที่มาของภาพ 1  2

ทุกวันนี้สินค้า Made in China ปรากฎอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า จานชาม รวมไปถึงรถยนต์ นั่นก็เพราะสาธารณรัฐประชาชนจีนวันนี้ถือเป็น “โรงงานของโลก” ด้วยจุดเด่นในเรื่องของสินค้านวัตกรรม ทันสมัย และราคาถูก จึงทำให้มีพ่อค้ามากมายนำสินค้าจากจีนมาขาย

สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่หลายคนก็อยากลองเข้าถึงช่องทางการนำเข้าสินค้าจากจีนเช่นกัน วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องจัดหาสินค้าจากจีนมาฝากกัน

1. อย่าฟังเรื่องร้ายๆ มากเกินไป

หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวว่า เมื่อทำการค้ากับบริษัทจีนแล้ว ของที่สั่งมักไม่เป็นอย่างที่อยากได้ คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน หรือให้ของไม่ครบ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ถึงแม้เป็นเรื่องจริง แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกบริษัท ประเทศจีนกว้างใหญ่ มีสินค้าหลายเกรด ซึ่งก็ขึ้นกับเม็ดเงินที่เรายอมจ่ายด้วย

ดังนั้นคำแนะนำจากบริษัทออสเตรเลียผู้ร่วมทำธุรกิจกับจีนกลายทศวรรษอย่าง DealsDirect.com.au กล่าวว่า ทำการค้ากับคนจีนก็เหมือนทำกับคนชาตือื่นๆ สิ่งสำคัญคือ การตรงไปตรงมา ให้ความเคารพกันและกัน รวมถึงความซื่อสัตย์

2. อย่ากังวลเรื่องข้อจำกัดทางภาษา

จริงอยู่ หากเราพูดภาษาจีนในระดับที่สื่อสารถึงกันได้ ย่อมจะนำมาซึ่งการเจรจาต่อรองธุรกิจที่คล่องกว่า แต่หากไม่สามารถคุยภาษาจีนได้ หลายบริษัทในจีนมีพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่อง โดยเฉพาะกับการตอบอีเมล์ที่เป็นทางการ และชัดเจน

ผู้ก่อตั้งเว็บดีลไดเร็ก แนะนำว่า การเขียนอีเมล์คุยกับบริษัทคู่ค้าในจีน ทำได้ง่ายๆ และสำเร็จ ต้องยึดดังนี้ 1. เขียนให้ชัดเจน เรียงข้อ เรียงลำดับ 2. ใช้คำง่ายๆ ตรงไปตรงมา 3. เขียนด้วยความเคารพ การใส่ Emoticon ก็ยิ่งช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารดียิ่งขึ้น

 3. หาพันธมิตรที่ใช่

หากหาบริษัทขายสินค้าที่เราต้องการไม่ยาก เพราะวันนี้ alibaba.com คือเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการติดต่อโรงงานที่จีน (รู้จัก Most Popular Supplier ของอลีบาบาประจำปี 2013 ได้ที่นี่) แต่หากสินค้าของคุณเป็นแนวแฟชั่นก็สามารถใช้บริการของ Taobao.com (เว็บอีคอมเมิร์ซเครือเดียวกับอลีบาบา) ได้ แต่ก็ต้องมั่นใจว่าพวกเขาเป็นบริษัทที่มีสต็อกของมากพอสำหรับการขายส่ง

และสำหรับมือใหม่ สามารถเริ่มสั่งของด้วยการจ้างตัวแทนคนไทย ซื้อและส่งของที่เราต้องการให้ ก่อนที่จะนำไปสู่การสั่งแบบล็อตใหญ่ ลองอ่านรายละเอียดของบริการเหล่านี้ได้ที่นี่

4. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน

กวนชี่ (關係)หรือ การสร้างความสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว เพราะการที่จะทำให้คนๆ หนึ่งเป็นเพื่อนกับเราได้ การคุยเรื่องธุรกิจต่อไปก็เป็นเรื่องง่าย ดังนั้นการคุยธุรกิจแบบเป็นเพื่อน การส่งอีการ์ดให้เขาในวันเกิด รวมถึงการไปเยี่ยมโรงงาน และนัดทานข้าวด้วยกันสักมื้อ เมื่อมีโอกาสได้ไปเมืองจีน ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจออนไลน์ของคุยกับบริษัทในจีนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

5. มีแผนที่สองเสมอ

เมื่อใดก็ตาม ก่อนที่เราจะตกลงใจซื้อขายการเตรียมแผนสำรองไว้จะเป็นการดีที่สุด เช่น การหาบริษัทขายสินค้าที่เขาตาไว้สัก 1-3 กรณีหากเกิดการผิดพลาด เราจะได้ติดต่อโรงงานอื่น

รวมถึงการสั่งซื้อสินค้า ถึงแม้จะมีราคาถูกหากสั่งล็อตใหญ่ แต่เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บเงินสำรองเอาไว้ และลองสั่งล็อตเล็กๆ ก่อน จากนั้นค่อยวัดกันที่บริการ นอกเหนือจากสินค้าที่ได้มาตรฐานที่เราโอเคแล้ว มาดูว่าบริการ เช่น การจัดส่งสินค้า การให้บริการหลังการขายที่ไหนดีกว่า แล้วค่อยดำเนินความสัมพันธ์ระยะยาวกับบริษัทนั้นๆ

แต่ที่สำคัญที่สุดอย่าลืมว่า ทุกอย่างต้องซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมา เพราะอาจเป็นได้ว่า โรงงานที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน ที่แท้มีเจ้าของคนเดียว หรือทุกบริษัทเป็นบริษัทพันธมิตรหรือเครือญาติกัน หากเรายื่นข้อเสนอไม่ตรงไปตรงมา ทางจีนก็อาจจะจับได้และไม่อยากที่จะร่วมธุรกิจกับเราต่อก็เป็นได้

ข้อแนะนำเบื้องต้นทั้งหมดนี้นำคุณให้ทราบในมุมกว้างๆ ว่าสิ่งที่จะต้องทำและไม่ควรทำเมื่อเริ่มทำการค้ากับจีนคืออะไร ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือ ลงมือทำเลย เพราะทุกอย่างคุณจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเมื่อครั้งที่คุณสำเร็จ ก็สามารถเขียน Know how (to do business with Chinese) ส่งมาให้เราอ่านบ้างก็จะยินดีเป็นอย่างมาก

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่