เรามาทำความรู้จักกับภาษีกันสักหน่อยนะครับ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินที่คนไทยทุกคนที่มีรายได้ในแต่ละปีต้องเสียให้แก่รัฐ เพื่อเอาไปพัฒนาประเทศ (และเอาไปโกงกันนั่นแหละ) โดยภาษีที่ต้องเสียให้รัฐนั้นจะคิดจาก
เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนต่างๆ = เงินได้สุทธิ
แล้วนำเงินได้สุทธิที่คิดมาได้นี้ นำไปคำนวนภาษีตามเกณฑ์ภาษีเงินได้ของสรรพากร ว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่นะครับ
คำศัพท์สรรพากร
เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน,ประโยชน์ต่างๆที่สามารถคิดเป็นจำนวนเงินได้ โดยเงินได้ที่สรรพากรให้
นำมาคิดนั้น จะเรียกกันว่า เงินได้พึงประเมิน ที่เราได้รับ ในปีนั้นๆ โดยคิดในเกณฑ์เงินสด
เกณฑ์เงินสด หมายถึง การคิดคำนวนรายรับรายจ่าย ตามที่ได้รับหรือจ่ายเงินสดจริง เช่น ถ้าเราทำงานเดือนธันวาคม 2554 แต่
เราได้รับเงินเดือนตอนต้นเดือนมกราคม2555 จะถือว่าเรามีเงินได้ตอนมกราคม2555 หรือเราจ่ายค่าเช่าห้องของเดือนมกราคม 2555 ตอนปลายเดือนธันวาคม2554 ก็ถือว่ามันเป็นค่าใช้จ่ายของเดือนธันวาคม2554นะครับ
ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนที่สรรพากรมองเห็นว่าเหมาะสมต่อการได้มาขอเงินได้ โดยส่วนใหญ่สรรพากรจะคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมารวมเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ เช่น เงินเดือน จะถือว่ามีค่าใช้จ่าย 40% หรือขายของชำจะถือว่ามีค่าใช้จ่าย 80% แต่ก็สามารถหักได้ตามจริงถ้ามีเอกสารประกอบ
ค่าลดหย่อน หมายถึง รายการต่างๆ ที่สรรพากรกำหนดให้สามารถนำมาหักเงินได้ได้ เพื่อลดภาษีที่ต้องจะเสีย โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับเงินได้ แต่เราเสียไปในชีวิตประจำวันของเราจริงๆ เช่น ประกันชีวิต บริจาค เงินสมทบประกันสังคม เป็นต้น
เงินได้สุทธิ หมายถึง เงินได้ที่สรรพากรจะนำมาคิดภาษีตามเกณฑ์ภาษีเงินได้ของสรรพากร
เกณฑ์ภาษีเงินได้ของสรรพากร
โดยคิดภาษีในรูปแบบขั้นบันไดครับ เช่นถ้าเรามีเงินได้สุทธิ 700,000บาท ก็จะคิดว่า 150,000 แรก เราไม่ต้องจ่ายภาษี 350,000 ถัดไป เราจะต้องจ่ายภาษีร้อยละ10 หรือก็คือ 35,000บาท และ 200,000บาทสุดท้ายเราจะต้องจ่ายภาษีร้อยละ 20 หรือก็คือ 40,000บาท ซึ่งหมายถึง ถ้าเรามีเงินได้สุทธิ 700,000 บาทเราต้องเสียภาษี 0+35,000+40,000 =75,000บาทนั่นเอง
ที่มา เว็บไซต์ของกรมสรรพากร