Google Webmaster Tools คือ ระบบที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลสถิติอย่างละเอียดของเว็บไซต์ รวมถึงช่วยวิเคราะห์และทำดัชนีในการค้นหาต่างๆให้แก่ผู้ดูแลเว็บไซต์
ขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งาน Google Webmaster Tools
1. เข้าไปที่ https://www.google.com/webmasters/tools/
2. ลงชื่อเข้าใช้งานผ่านบัญชี Google หากยังไม่มีจำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ใช้งานก่อนนะคะ
3. เมื่อเข้าใช้งานได้แล้ว ให้กดที่ปุ่ม เพิ่ม Site
4. ยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ตามวิธีต่างๆที่มีให้เลือก สำหรับเจ้าของร้าน LnwShop ให้เลือกที่ “วิธีการอื่น” ค่ะ
5. หลังจากนั้นให้เลือกที่ เพิ่มเมตาแท็กไว้ที่หน้าแรกของไซต์ของคุณ และนำโค้ดที่ได้รับ โดยคัดลอกเฉพาะโค๊ดที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด ” “ ไปใส่ไว้ใน Manual Meta tag ในหน้าของ SEO ที่หลังร้าน ของเพื่อนๆนะคะ
6. หลังจากใส่โค้ดเสร็จแล้ว กลับมากดยืนยัน ก็จะเป็นอันใช้งานได้เรียบร้อยค่ะ แต่สำหรับการดูค่าต่างๆอาจจะต้องรอ Google ซักนิดนะคะ แต่โดยส่วนใหญ่หากไม่เกิดข้อผิดพลาดก็จะสามารถดูข้อมูลได้ในอีก 24 ชม. ถัดมาค่ะ
ที่นี้ตามมาดูกันแบบเจาะที่ละข้อเลยดีกว่าว่า Google Webmaster Tools เก็บค่าอะไร อย่างไรบ้าง
ด้านบนเป็นภาพแสดงหน้าแสดงผลต่างๆของ Google Webmaster Tools ที่เก็บค่ามาจากเว็บไซต์ที่เราขอใช้บริการค่ะลองมาดูตามแต่ละเมนูเลยละกันนะคะว่าเจ้าเครื่องมือตัวนี้ทำงานอย่างไรบ้าง
1. Sitemap
การส่ง Sitemap นั้นทำเพื่อเป็นการแจ้งให้ Google ทราบเกี่ยวกับหน้าบนไซต์ของคุณที่ Google อาจตรวจไม่พบค่ะ โดยเมื่อคลิกเข้าไปสู่หน้าจัดการของ Sitemap แล้วให้กด ส่ง Sitemap จะมีช่องให้กรอก url ของหน้า Sitemap ในเว็บของคุณค่ะ สำหรับเพื่อนๆเจ้าของร้าน lnwShop ให้ใส่คำว่า “sitemap.xml” นะคะ (Sitemap ในเว็บของคุณจะอยู่ที่หน้านี้นะคะ>> http://ชื่อร้านของคุณ.lnwshop.com/sitemap)
หลังจากนั้นก็รอแค่ Google เข้ามาเก็บค่า ซึ่ง Sitemap ที่เราใส่เข้าไปนั้นจะช่วยให้ Google เก็บค่าต่างๆของเราได้ครบถ้วนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามทาง lnwShop ก็ได้จัดทำ sitemap.xml ให้แก่ทุกร้านค้าด้วยอีกส่วนหนึ่ง ซึ่ง Google จะเก็บค่านี้ไว้ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน Google Webmaster Tools ด้วยเช่นกันค่ะ ^^
2. การเข้าถึงโปรแกรมรวบรวมข้อมูล
ในส่วนนี้เป็นการจัดการแก้ไข สร้าง หรือ ลบ โปรแกรมตรวจสอบเว็บของเรา หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “Robot” หรือ “Bot” ที่เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ของเราค่ะ
ในส่วนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ Advance ค่อนข้างมาก จะขอไม่กล่าวถึงในรายละเอียดนะคะ ^^ เพราะตามปกติเจ้าโรบ็อตของ Google ก็ทำงานได้ดีอยู่แล้ว เราจึงไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไรมากนัก แต่ถ้าใครอยากลองศึกษาก็เข้าไปลองเล่นกันดูได้เลยนะคะ
3. Sitelink
Sitelink เป็นลิงก์ที่เชื่อมไปยังหน้าภายในของไซต์ ไม่ใช่ทุกไซต์ที่มี Sitelink ดังนั้น Google จึงสร้างลิงก์เหล่านี้ขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่คุณสามารถลบ Sitelink ที่คุณไม่ต้องการได้ ดังนั้นในส่วนนี้คุณจึงไม่ต้องทำอะไร ข้ามไปได้เลยค่ะ ^^
4. การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ และการตั้งค่า
จะขอไม่กล่าวถึงในที่นี้นะคะ เนื่องจากเป็นการจัดการขั้นสูง และเป็นเพียงการปรับค่าบางอย่างจากที่ Google ตั้งค่าหลักไว้เท่านั้นค่ะ
จาก 4 ข้อด้านบน ซึ่งเป็นส่วนเก็บข้อมูล และการตั้งค่าของ Google Webmaster Tools ไปแล้ว ตอนต่อไป เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่า Google Webmaster Tools เก็บสถิติอะไรให้เราบ้าง และ เราจะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรค่ะ
อ่านตอนต่อไปได้ที่ : Google Webmaster Tools ลงลึกสถิติเว็บไซต์ ตอนจบ