ด้วยความที่ผมเองไม่ได้สะอึกมาร่วมหลายปีแล้ว (นับตั้งแต่จำความได้) แล้วอยู่มาวันหนึ่งผมก็เกิดอาการสะอึกติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน แต่มีจังหวะหายบ้างเหมือนกันครับ ไม่ได้สะอึกตลอดเวลา = =’ วันนี้ผมเลยเอาวิธีการแก้สะอึกมาฝากกันครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ สะอึก กันก่อนครับ
สะอึก (hiccup) เกิดจากกะบังลมทำงานไม่เป็นปกติ กะบังลมกั้นอยู่ระหว่างช่องท้องกับช่องอก ทำงานโดยยืดและหดในจังหวะสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการหายใจ สาเหตุของการสะอึกอาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยงกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
การสะอึกนั้นอาจะเกิดจากหลายๆ สาเหตุ โดยทั่วไปจะเป็นการเขยายตัวของกระเพาะอาหาร (เช่นอาหาร, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, อากาศ), การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในอุณหภูมิห้องหรือในกระเพาะอาหารและดื่มใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ / หรือยาสูบที่มากเกินไป สาเหตุจากทางด้านจิตใจ (เช่น ความตื่นเต้น, ความเครียด)
เทคนิคหยุดอาการสะอึกมีหลายวิธี การศึกษาชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา พบว่า การกลืนน้ำตาลทรายเปล่าๆ 1 ช้อนโต๊ะ สามารถแก้อาการสะอึกได้ถึง 19 คน จากจำนวน 20 คน
นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ อีกหลายวิธี ได้แก่
– สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจไว้สักพัก
– หายใจในถุงกระดาษ
– กลืนน้ำแข็งบดละเอียด
– เคี้ยวขนมปังแห้ง
– บีบมะนาวให้ได้สัก 1 ช้อนชา แล้วจิบแก้สะอึก
– ก้มตัวดื่มน้ำจากขอบแก้วด้านตรงข้ามหรือด้านที่ไกลจากริมฝีปาก *ผมใช้วิธีนี้ หายทุกครั้งที่ทำครับ แต่ก็สะอึกอีกในเวลาถัดไปหลายชั่วโมง
– จิบน้ำจากแก้วเร็วๆ หลายๆ อึก ติดๆ กัน
– ใช้นิ้วมืออุดหูประมาณ 20-30 วินาที
– อุดหูไปด้วย แล้วดูดน้ำจากหลอดไปด้วย
– แหงนหน้า กลั้นหายใจ นับ 1-10 จากนั้นหายใจออกทันที แล้วดื่มน้ำหนึ่งแก้ว
– ใช้นิ้วคีบลิ้นแล้วดึงออกมาเบาๆ หรือแลบลิ้นออกมายาวๆ
– กดจุด โดยออกแรงบีบเนินใต้นิ้วโป้งของมืออีกข้างหนึ่ง หรือกดบริเวณร่องเหนือริมฝีปาก
– นวดเพดานปาก
– ทำให้ตกใจ เช่น ตบหลังแรงๆ โดยไม่ให้รู้ตัวก่อน
– ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าใช้มือลูบหลังเบา ๆ ให้เรอ
หวังว่าเพื่อนๆ ที่เป็นคงหายกันนะครับ ^_____^
ขอบคุณข้อมูลสะอึกจาก navy22.com