ปัจจุบันมีการใช้งาน Social Network กันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวในข้อมูลของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตุพฤติกรรมการ Check in บนแผนที่ของเราจากเหล่ามิจฉาชีพ เพื่อเก็บข้อมูลช่วงเวลาที่เราไม่อยู่บ้านเพื่อรอยกเค้าบ้านของเรา และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้หลายๆคนเริ่มห่วงความปลอดภัยในการใช้งาน Social Network

เหล่าผู้ให้บริการ Social Network จึงปรับปรุงการเข้าใช้งานจาก การเข้าผ่าน HTTP ปกติ เป็น การเข้าใช้งานผ่าน HTTPS โดยหวังจะป้องกันการดักจับข้อมูล (Sniffing ) จากผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง แต่ก็ยังคงเกิดคำถามแก่ผู้ใช้บริการทั่วไปว่า “ปลอดภัยจริงหรือ?” เพราะถึงแม้เราจะป้องกันการดักจับข้อมูลได้หากแต่การ “เพิ่มเป็นเพื่อน” ของเรา ยังไม่ได้เพิ่มเฉพาะ “เพื่อน” จริงๆ หรือบางครั้งกระทั่ง “เพื่อน” ก็อาจก่อปัญหาแล้วล่ะก็ การที่เขาเหล่านั้นเข้าถึงข้อมูลของเราบน Social Network ได้ ก็ยังคงเป็นการสร้างปัญหาหรือไม่? ฉะนั้นใส่ใจก่อนโพสซักนิดนะคะ ^^ ด้วยความปรารถนาดีจาก lnw co., ltd. ค่ะ

 

 

HTTP ย่อมาจาก Hyper Text Transfer Protocol เป็นโปรโตคอลสื่อสารที่ทำงานอยู่บนระบบโปรโตคอล TCP HTTP ใช้ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) ทำหน้าที่ในการจำหน่าย,แจกจ่าย รวมไปถึงการรับข้อมูล จากระบบสื่อกลางชั้นสูง (Hypermedia System) ที่ประกอบด้วยเครื่องให้บริการ (Server) ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก ที่มา: http://bit.ly/hwG7Zp

 

HTTPS หรือ Hypertext Transfer Protocol Security คือ ระบบความปลอดภัยของ HTTP protocol สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่อง server และ client ที่คิดค้นขึ้นโดยบริษัท Netscape เมื่อปลายปี ค.ศ. 1994 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูลขณะรับ-ส่ง และเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลนั้นถูกรับ-ส่งระหว่างผู้รับและผู้ส่งตามที่ระบุไว้จริงคะ โดยที่ข้อมูลจะต้องไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปจากเดิมด้วย HTTPS จะทำงานอยู่บนพอร์ต 443 (ค่าปกติ) ด้วยการเพิ่มข้อมูลในส่วนการระบุตัวผู้ส่ง (Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ภายใน HTTP กับ TCP  ที่มา: http://bit.ly/fvTBNN