Banner_Easy E-Receipt 2.0

เริ่มแล้วโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี จากกระทรวงการคลัง อย่าง Easy E-Receipt 2.0 ให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปหักลดหย่อนภาษีปี 2568  โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท สำหรับใช้จ่ายกับร้านค้าทั่วไป และลดหย่อนได้สูงสุด 20,000 บาท สำหรับใช้จ่ายกับวิสาหกิจชุมชน, ร้าน OTOP เริ่มโครงการ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2568

เลือกอ่านตามหัวข้อ


Easy E-Receipt 2.0

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้ชื่อโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ให้ประชาชนสามารถซื้อสินค้า-บริการ และนำใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท 

เงื่อนไขเข้าร่วมโครงการลดหย่อนภาษี ปี 2568

ใช้หักลดหย่อนค่าสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2568 ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. หักลดหย่อนค่าสินค้า/บริการตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท

  • ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน
  • ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน

2. หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 20,000 บาท เมื่อ

  • ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
  • ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
  • ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 1 รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 2 ด้วย เช่น ซื้อสินค้า OTOP 50,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ 50,000 บาท เป็นต้น

Insert Easy E-Receipt 2.0
[Photo by charlesdeluvio on Unsplash]

Q&A มาตรการลดหย่อนภาษี ปี 2568

Q: มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ให้สิทธิประโยชน์อะไร
A: ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนค่าสินค้าและบริการใประเทศ ตั้งแต่ 16 ม.ค. – 28 ก.พ. 2568 ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท 

Q: การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถหักลดหย่อนได้ทุกกรณีหรือไม่
A: กรณีที่ซื้อสินค้ากับร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม จะซื้อสินค้าได้เฉพาะในรายการต่อไปนี้

  • หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
  • e-Book  e-Magazine
  • สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
  • สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
  • สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

ซึ่งร้านค้าต้องออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากระบบของกรมสรรพากร โดยต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย

Q: ค่าสินค้าและบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้มีอะไรบ้าง
A: ค่าสินค้าและบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ มีดังนี้

  1. ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
  2. ค่าซื้อยาสูบ
  3. ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
  4. ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และค่าซื้อเรือ
  5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  6. ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนด (16 ม.ค. – 28 ก.พ. 68) เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
  7. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  8. ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
  9. ค่าที่พักในโรงแรม
  10. ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
  11. ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

Q: ผู้ที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้ คือใคร
A: บุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

Q: ค่าซื้อสินค้า OTOP, ค่าสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน และค่าสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้วิสาหกิจเพื่อสังคม หักลดหย่อนได้เท่าไร
A: หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 50,000 บาท

Q: ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ต้องแจ้งข้อมูลอะไรบ้าง ในการขอ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt
A: ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะต้องแจ้ง

  1. ชื่อและนามสกุล
  2. ที่อยู่
  3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน)

เมื่อแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568 

Q: e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร
A: e-Tax Invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที่มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) 

ทั้งนี้ ผู้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรก่อน จึงจะออกข้อมูลได้

Q: หาก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt มีข้อความไม่สมบูรณ์ เช่น เขียนชื่อหรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้หรือไม่
A: ถ้า e-Tax Invoice มีรายการครบถ้วน แม้จะระบุชื่อหรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด ก็สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้ ทั้งนี้ ควรตรวจสอบว่าเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการถูกต้องหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูลยื่นแบบแสดงรายการภาษี

Q: ลูกค้าทั่วไป สามารถขอ e-Tax จากร้านค้าได้ยังไง
A: สอบถามร้านค้าก่อนซื้อ ว่าสามารถออกใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูป (e-Tax Invoice) ได้ไหม หากเป็นร้านค้าที่ได้รับการอนุมัติ จะสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูป หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์จากกรมสรรพากรได้

อ่านข้อสงสัยเพิ่มเติมได้ที่คำถาม-คำตอบ (Q&A) มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0”


ร้านค้าเทพออก e-Tax Invoice ได้ง่าย ๆ ผ่าน LnwShop

LnwShop เปิดระบบ E-Tax Invoice & E-Receipt อำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าที่มีความต้องการออกใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร สามารถติดต่อเพื่อเปิดใช้งาน เริ่มต้นเพียง 500 บาท/เดือน (ราคาสุทธิ 5,000 บาท/ปี เท่านั้น)

E-tax & E-receipt 2.0

โดยระบบนี้ นอกจากจะสร้างเอกสารจากข้อมูลในคำสั่งซื้อแล้ว ยังมีการรับรองลายมือชื่อแบบดิจิทัล และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติอีกด้วย

และสำหรับร้านค้าที่ต้องการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ e-Tax Invoice by Email ด้วยตัวเอง ก็สามารถเปิดใช้งานตัวเลือกรับใบกำกับภาษีที่หน้าบิลออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าที่ต้องการขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยไปที่ระบบหลังร้าน > เมนู Tax Invoice > เปิดสวิตซ์ใช้งานที่หัวข้อ e-Tax Invoice

e-Tax Invoice

อ่านข้อมูลรูปแบบของ e-Tax Invoice เพิ่มเติมได้ที่ รู้ก่อนใช้จริง! e-Tax Invoice คืออะไร แตกต่างจาก Tax Invoice ยังไง? ใช้ทำอะไรได้บ้าง?


แหล่งข้อมูล