หลายท่านอาจเจอปัญหาเพิ่มรูปตกแต่งบน Theme เว็บที่ชอบ แต่การแสดงผลไม่ออกมาสวยงามอย่างที่คิด
วันนี้เราจึงจะมาช่วยแก้ปัญหานี้ ด้วยการแนะนำขนาดรูปภาพที่เหมาะสมในแต่ละ Section บนเว็บไซต์ โดยยกตัวอย่างจาก Theme ที่ลูกค้านิยมเลือกใช้มาให้ดูกันค่ะ
สารบัญแนะนำขนาดรูปภาพที่เหมาะสม
Header (ส่วนเมนูบาร์ด้านบนสุด)
Header คือส่วนด้านบนสุดของเว็บไซต์ ประกอบไปด้วย โลโก้, แถบเมนูหน้าเว็บ และแถบเมนูจากระบบ
ส่วนนี้เป็นส่วนที่จะแสดงผลในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ โดยสามารถใช้เครื่องมือปรับแต่ง Editor ปรับส่วนสูง
เพิ่มเมนูไปหน้าต่างๆ และปรับสีพื้นหลังของแถบ Header ให้เหมาะกับดีไซน์หน้าเว็บของคุณได้
1. ปรับแต่ง Logo
Logo ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แบรนด์ของร้านเป็นที่รู้จัก และน่าจดจำ ซึ่งการใส่ภาพ Logo บน LnwShop เราแนะนำให้ใช้ภาพที่มีความกว้างและสูงไม่เกิน 450 px เช่น 450 x 300 พิกเซล, 250 x 400 พิกเซล
400 x 200 พิกเซล เป็นต้น โดยสามารถใช้เครื่องมือปรับแต่ง Editor เพื่อปรับขนาดส่วนสูง โลโก้ให้เหมาะกับหน้าเว็บของคุณได้
หมายเหตุ : แนะนำให้อัปโหลดภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน เมื่อภาพถูกย่อลงจะทำให้ไม่สูญเสียความละเอียดของภาพ (ไฟล์ภาพควรใหญ่ไม่เกิน 300 kb เพื่อไม่ให้เว็บโหลดช้า)
การใส่ภาพ Logo สามารถทำได้ดังนี้
1. เข้าสู่หลังร้าน > กดที่โปรไฟล์ของคุณมุมบนด้านขวา > ตกแต่งหน้าร้าน
2. คลิกที่ปุ่มไอคอนดินสอ หรือคลิกจากแถบเมนูด้านซ้ายมือ เพื่อทำการปรับแก้ไขแถบ Header
3. กดเปิดสวิตซ์ ใส่ Logo เอง (สวิตซ์เป็นสีน้ำเงิน)
4. ทำการกดปุ่ม +เลือกรูป เพื่ออัปโหลดภาพโลโก้ของทางร้าน
5. ตั้งค่าความสูงของโลโก้ (ตามความเหมาะสม) จากนั้นกดปุ่ม PUBLISH เพื่อบันทึกเป็นอันเรียบร้อยค่ะ
ตัวอย่างจาก Theme Ceramic Store
Theme ใช้ขนาดโลโก้ 190 x 72 พิกเซล โดยปรับตั้งค่าความสูงของโลโก้อยู่ที่ 64 พิกเซล เพื่อให้ภาพโลโก้แสดงสัดส่วนได้เหมาะสมกับหน้าเว็บ
ตัวอย่างจาก Theme Pet Friendly
Theme ใช้ขนาดโลโก้ 300 x 300 พิกเซล โดยปรับตั้งค่าความสูงของโลโก้อยู่ที่ 52 พิกเซล เพื่อให้ภาพโลโก้แสดงสัดส่วนได้เหมาะสมกับหน้าเว็บ
2. ปรับแต่ง Header
Header คือส่วนด้านบนสุดของเว็บไซต์ ประกอบไปด้วยโลโก้ และเมนูต่างๆ ซึ่งจะแสดงผลในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ โดยเราสามารถใช้เครื่องมือปรับแต่ง Editor ปรับส่วนสูง หรือสีพื้นหลังของแถบ Header ให้เหมาะกับหน้าเว็บของคุณได้
การปรับตั้งแถบ Header สามารถทำได้ดังนี้
1. เข้าสู่หลังร้าน > กดที่โปรไฟล์ของคุณมุมบนด้านขวา > ตกแต่งหน้าร้าน
2. คลิกที่ปุ่มไอคอนดินสอ หรือคลิกจากแถบเมนูด้านซ้ายมือ เพื่อทำการปรับแก้ไขแถบ Header
3. กดปุ่ม Style เพื่อทำการเลือกรูปแบบตกแต่งแถบ Header
4. Mainheader Style : เลือกรูปแบบการแสดงผลของตำแหน่ง Logo และเมนูต่างๆ ว่าต้องการจัดเรียงรูปแบบใด ซึ่งเราสามารถเลือกรูปแบบ Preset ให้เข้ากับหน้าเว็บที่เราต้องการได้
5. ความสูง : สามารถเลือกตั้งค่าความสูงของแถบ Header ได้ตามความต้องการของทางร้าน (หากไม่กำหนด ระบบจะแสดงค่าตามธีมที่เลือกใช้)
6. Background color : สามารถคลิกเปลี่ยนสีพื้นหลังของแถบ Header เพื่อให้เข้ากับหน้าเว็บที่เราต้องการได้
7. Font Color : สามารถคลิกเลือกเปลี่ยนสีตัวอักษรได้ตามต้องการ (แนะนำหากปรับตั้งค่าสีพื้นหลังใหม่แล้ว ควรใช้สีตัวอักษรที่ไม่กลืนไปกับสีพื้นหลัง)
8. Font-weight : น้ำหนักของตัวอักษรเมนู สามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้ตัวบาง, ตัวปกติ หรือตัวหนา
9. Font-size : ขนาดของตัวอักษรเมนู สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
Slideshow
Slideshow Section คือ Section ที่สามารถใส่ภาพหลายๆ ภาพ เพื่อให้เลื่อนโชว์เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ ซึ่งจะมี Preset การจัดวางหลายๆ แบบให้เลือกใช้งานตามความต้องการ ส่วนใหญ่นิยมปรับตั้งค่าภาพให้เป็น Fullwidth (กว้างเต็มจอ)
ซึ่งสามารถปรับตั้งค่าได้จากปุ่ม Advance ของ Section นั้นๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ทำการเพิ่ม Section ที่ต้องการ > คลิกที่ปุ่ม Advance เพื่อปรับตั้งค่า
- ไปที่หัวข้อ Layout > Full Width กดปุ่มสวิตซ์ เพื่อเปิดใช้งานความกว้างของ Section
หลังจากเราแก้ไขเสร็จทุกครั้ง ให้กด PUBLISH ปุ่มสีน้ำเงินด้านขวาบน เพื่อเป็นการ Save และแสดงผลหน้าเว็บตามที่เราปรับแก้ไขไปค่ะ
– การแสดงผลบน Desktop
- การใส่ภาพ SlideShow แบบภาพเดี่ยว ปรับการแสดงผลเป็น Fullwidth (กว้างเต็มจอ)
ควรใช้ขนาดภาพกว้างอย่างน้อย 1920 พิกเซล เพราะภาพจะถูกยืดขยายจนชิดขอบจอซ้าย-ขวา ตามที่ธีมได้กำหนดไว้ หากภาพมีขนาดต่ำกว่า 1920 พิกเซล จะเหลือขอบพื้นที่ซ้าย-ขวา ทำให้หน้าเว็บไม่สวยงาม
ขนาดภาพแบบที่ 1 : แนะนำขนาดภาพกว้าง 1920 x สูงไม่เกิน 600 พิกเซล สำหรับผู้ที่ต้องการให้ภาพไม่สูงเกินไป และยังเห็นเนื้อหาของ Section ด้านล่างอยู่
ขนาดภาพแบบที่ 2 : แนะนำขนาดกว้าง 1920 x สูงไม่เกิน 800 พิกเซล สำหรับผู้ที่ต้องการโชว์ภาพใหญ่ๆ แบบเต็มหน้าจอ
หมายเหตุ : แนะนำให้อัปโหลดภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ก่อน เมื่อภาพถูกย่อลงจะทำให้ไม่สูญเสียความละเอียดของภาพ (ไฟล์ภาพควรใหญ่ไม่เกิน 500 kb เพื่อไม่ให้เว็บโหลดช้า)
- การใส่ภาพ Slideshow แบบแบ่งคอลัมน์ข้อความและรูปภาพ ให้อยู่ด้านซ้ายหรือขวา
แนะนำขนาดภาพกว้างไม่ต่ำกว่า 1000 พิกเซล เพื่อให้ภาพที่แสดงผลจะได้มีความคมชัด (ความกว้างของภาพจะแสดงผลครึ่งนึงของเนื้อหา) ในส่วนของความสูงสามารถปรับลด – เพิ่ม ได้ตามการใช้งาน
- การใส่ภาพ SlideShow จำนวนหลายๆ ภาพ ให้เรียงต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหว
แนะนำขนาดภาพกว้างไม่ต่ำกว่า 500 พิกเซล เหมาะสำหรับการแสดงผลแบบ 5 ภาพต่อแถว
กรณีมีภาพน้อยกว่า 5 ภาพต่อหนึ่งแถว แนะนำให้ใส่ภาพที่มีขนาดกว้าง ตั้งแต่ 500 พิกเซลขึ้นไป เพื่อให้ภาพแสดงผลได้คมชัด
ทั้งนี้ ภาพที่ใส่ใน Slideshow ควรเป็นภาพที่มีขนาดเหมาะสมกับรูปแบบ Section ที่ต้องการใช้งานบนหน้าเว็บ
– การแสดงผลบน Mobile
การแสดงผลบนมือถือแนะนำให้อัปโหลดภาพแยก เพื่อเปลี่ยนขนาดของภาพให้เหมาะสมกับหน้าจอมือถือ
กรณีไม่อัปโหลดภาพแยก ระบบจะแสดงรูปภาพขนาดเดียวกันกับ Desktop ซึ่งหากภาพบน Desktop เป็นแนวนอน อาจจะทำให้ภาพมีขนาดเล็กลงเมื่อเปิดผ่านจอมือถือ
- ขนาดภาพแบบที่ 1 : กว้าง 780 x 600 พิกเซล เหมาะสมกับอัตราส่วนจอมือถือ สามารถใส่เนื้อหาได้ครบถ้วน และจะแสดงเนื้อหาของ Section อื่นๆ ด้านล่างด้วย
- ขนาดภาพแบบที่ 2 : กว้าง 630 x 1024 พิกเซล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโชว์ภาพ Slideshow แบบเต็มหน้าจอ โดยรูปแบบนี้จะทำให้ไม่เห็นเนื้อหาของ Section อื่นๆ ด้านล่าง
ในส่วนของ Slideshow แบบแบ่งคอลัมน์ และแบบใส่ภาพจำนวนหลายๆ ภาพเรียงต่อกัน เมื่อแสดงผลบน Mobile จะถูกแสดงเป็นภาพเดียว ดังนั้นสามารถใช้ขนาดรูปภาพตามที่แนะนำไปด้านบนได้เลยค่ะ
Headline (ส่วนเนื้อหาแบบเด่น)
การทำงานของ Headline คือการแสดงเนื้อหาที่สำคัญที่สุด และเป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านมักจะดูเป็นอันดับแรก
การใส่ Section นี้ จึงเหมาะกับการใส่ข้อความที่ดึงดูดลูกค้า เช่น คำอธิบายเกี่ยวร้านค้า ประโยค หรือข้อความที่น่าสนใจ และต้องการเน้นให้ลูกค้าทราบ โดยสามารถเลือกรูปแบบ Preset ของ Headline Section ให้เข้ากับหน้าเว็บที่เราต้องการได้ โดยแต่ละ Theme มีการเลือกใช้ Headline Section ต่างๆ ดังนี้
1. Headline รูปแบบคอลัมน์
เป็นการจัดวางแบบแบ่งคอลัมน์ ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ว่าอยากให้ข้อความและรูปภาพ อยู่ด้านซ้ายหรือขวา
– การแสดงผลบน Desktop : กว้าง 1000 x ความสูงปรับเพิ่ม-ลดได้ตามการใช้งาน
ตัวอย่างจาก Theme Ceramic Store
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 1000 x 650 พิกเซล ความสูงสามารถปรับลด – เพิ่ม ได้ตามการใช้งาน โดยความกว้างของภาพจะแสดงผลครึ่งนึงของเนื้อหา
ตัวอย่างจาก Theme Knowledge
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 900 x 900 พิกเซล ความสูงสามารถปรับลด – เพิ่ม ได้ตามการใช้งาน ความสูงของภาพจะถูกดันขึ้นไปด้านบน และความกว้างของภาพจะแสดงผลครึ่งนึงของเนื้อหา
กรณีใช้ภาพที่มีความกว้างเกิน 1000 พิกเซล ระบบจะปรับให้ภาพแสดงผลครึ่งนึงของเนื้อหา และมีส่วนสูงตามขนาดรูปภาพจริง
รูปภาพในตำแหน่ง Headline Column Section ยังสามารถนำไปใช้กับ Headline Section อื่นๆ ได้อีก เช่น
Headline Column with Large Image Section ซึ่งภาพจะมีสัดส่วนพื้นที่กว้างกว่าข้อความ
– การแสดงผลบน Mobile : กว้าง 780 x ความสูงปรับเพิ่ม-ลดได้ตามการใช้งาน
ตัวอย่างจาก Theme Ceramic Store
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 780 x 507 พิกเซล
เนื่องจากไม่ได้ใส่ภาพขนาด Mobile ทำให้การแสดงผลของรูปนี้จะใช้ภาพขนาดเดียวกันกับ Desktop
ตัวอย่างจาก Theme Knowledge
เนื่องจากไม่ได้ใส่ภาพขนาด Mobile ทำให้การแสดงผลของรูปนี้จะใช้ภาพขนาดเดียวกันกับ Desktop
2. Headline รูปแบบเรียงลงมา
นิยมทำเป็น Call to Action ทั้งรูปแบบการใส่ปุ่ม หรือมีเพียงข้อความเชิญชวน เพื่อเป็นการกระตุ้นการตัดสินใจให้กับผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ได้ โดย Section Headline สามารถเลือกใส่ภาพพื้นหลังได้ทั้งแบบใส่ภาพธรรมดา และใส่ภาพ Background แบบพิเศษ
Background แบบพิเศษ คือ การใส่ภาพพื้นหลังที่สามารถเลือกรูปแบบการใช้งานได้ดังนี้
- Parallax คือ การเคลื่อนไหวของภาพพื้นหลัง เมื่อเลื่อนขยับเมาส์ขึ้น – ลง Background ของเว็บไซต์จะเลื่อนขยับตาม
- BG ครึ่งฝั่ง คือ การใส่ภาพแบบ 2 คอลัมน์ โดยคอลัมน์นึง จะถูกเปลี่ยนให้มีฉากหลัง สามารถตั้งค่าตำแหน่งของพื้นหลังได้ เช่น ให้ภาพชิดซ้ายบน หรือให้ภาพอยู่ตรงกลาง
ในการใส่ภาพ Background นั้น ภาพที่อัปโหลดไปจะถูกแสดงผลมาตามเนื้อใน Section ที่เราได้มีการใส่เข้าไป หากเนื้อหาใน Section มีน้อย ภาพพื้นหลังก็จะโชว์น้อยตามความสูงของเนื้อหา แต่หากเนื้อหาใน Section มีเยอะ หรือมีหลายบรรทัด ภาพพื้นหลังก็จะโชว์มากขึ้นตามความสูงของเนื้อหาที่ถูกใส่เข้าไป
เมื่อใส่เนื้อหาใน Section แล้ว แนะนำให้ตั้งค่า Padding เพื่อเว้นระยะห่างบน-ล่างของพื้นที่ภายใน Section ไม่ให้ชิดติดขอบจนเกินไป หรือหากต้องการให้ใน Section นั้น แสดงภาพ Background มากขึ้น ก็สามารถตั้งค่า Padding เพื่อดันความสูงของ Section ให้เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
Padding คือ ระยะห่างระหว่างขอบของ Section และเนื้อในของ Section มีไว้เพื่อปรับแต่ง Section ให้แสดงผลได้อย่างสวยงาม ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. ทำการเพิ่ม Section ที่ต้องการ > คลิกที่ปุ่ม Style เพื่อปรับตั้งค่า
2. เลื่อนลงด้านล่างเพื่อเลือกหัวข้อ Padding
3. ไอค่อนรูปจอไซส์ต่าง ๆ (Device) : สามารถคลิกเลือกขนาดจอที่ต้องการใช้ตั้งค่า Padding ได้ โดยมี 3 ขนาดจอ คือ Mobile , Tablet และ Desktop
4. Top : ปรับความห่างระหว่างขอบบน และเนื้อใน Section
5. Bottom : ปรับความห่างระหว่างขอบล่าง และเนื้อใน Section
หน่วยพื้นที่ที่ใช้ในการตั้งค่า Padding แนะนำให้เลือกใช้หน่วย px หรือ rem
หมายเหตุ : หากใช้หน่วย px แนะนำให้ใส่ตัวเลขลงท้ายด้วย 0 (เช่น 10, 30, 40) หากใช้หน่วย rem แนะนำให้ใส่ตัวเลขไม่เกิน 20 (เช่น 3, 5, 10, 12)
– การแสดงผลบน Desktop : กว้าง 1920 x ความสูงปรับเพิ่ม-ลดได้ตามการใช้งาน
ตัวอย่างจาก Theme Ceramic Store
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 1920 x 1080 พิกเซล (เพื่อการแสดงผลที่ดีที่สุด) เป็นแบนเนอร์ที่เลือกใส่ภาพ Logo ให้แสดงผลในส่วนนี้เท่านั้น
ตัวอย่างจาก Theme Pet Friendly
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 1920 x 1080 พิกเซล (เพื่อการแสดงผลที่ดีที่สุด) พร้อมใส่ข้อความ และปุ่มกด
– การแสดงผลบน Mobile : รูปภาพยึดตาม Desktop เป็นหลัก
ด้วยเหตุผลที่ว่า Headline จะไม่สามารถใส่ภาพ Mobile แยกได้ เพราะฉะนั้นรูปภาพในส่วนนี้จะถูกดึงมาจาก Desktop ซึ่งหากต้องการให้ภาพมีขนาดความสูงเพิ่มขึ้น สามารถปรับตั้งค่าที่ Padding (ระยะห่างบน-ล่าง ภายใน Section) ได้
Feature (ส่วนเนื้อหาแบบหลายก้อนข้อความต่อ 1 แถว)
Feature Section จะแสดงภาพ และข้อความอย่างเป็นสัดส่วนเรียงกัน ตัวอย่างการใช้งาน เช่น บริการของเรา, ช่องทางการติดต่อ, โลโก้แบรนด์ที่จำหน่าย โดย Feature Section จะมี Preset การจัดวางหลายๆ แบบให้เลือก ใช้งาน สามารถลองคลิกเพื่อดูว่าเข้ากับหน้าเว็บที่เราต้องการหรือไม่
– การแสดงผลบน Desktop
รูปภาพจะยืดหดตามสัดส่วนของภาพ โดยความกว้างของภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนต่อแถวที่เลือกให้แสดงผล สามารถตั้งค่าจำนวนการแสดงภาพบนแต่ละ Device ได้ ว่าต้องการให้จัดเรียงจำนวนภาพในแถวอย่างไร เช่น
- ใส่ 2 ภาพ ต่อ 1 แถว แนะนำขนาดภาพกว้างไม่ต่ำกว่า 1000 พิกเซล
- ใส่ 3 ภาพ ต่อ 1 แถว แนะนำขนาดภาพกว้างไม่ต่ำกว่า 500 พิกเซล
- ใส่ตั้งแต่ 4 ภาพขึ้นไป ต่อ 1 แถว แนะนำขนาดภาพกว้างไม่ต่ำกว่า 400 พิกเซล
ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบ Preset ของ Feature Section ให้เข้ากับหน้าเว็บที่เราต้องการได้
หมายเหตุ : หากใส่ภาพต่อแถวมากกว่า 4 ภาพขึ้นไป ขนาดรูปภาพจะถูกย่อลง
การใส่ภาพ Feature Section จะแสดงผลตามรูปทรงของภาพที่อัปโหลดไป เช่น ภาพที่เป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ระบบจะแสดงภาพตามรูปทรงนั้นๆ ดังตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่างจาก Theme Ceramic Store
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 600 x 600 พิกเซล ถูกปรับตั้งค่าให้แสดงผลแถวละ 4 ภาพ
ตัวอย่างจาก Blue Horizon
ใช้ขนาดภาพ : กว้าง 1024 x 1024 พิกเซล ถูกปรับตั้งค่าให้แสดงผลแถวละ 2 ภาพ
– การแสดงผลบน Mobile
ภาพจะถูกปรับให้แสดงผลได้น้อยกว่า Desktop เนื่องจากมีพื้นที่การแสดงผลน้อย และภาพ Mobile สามารใช้ขนาดรูปภาพเดียวกับ Desktop ได้ หรือต้องการใส่ภาพแยกก็ทำได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของทางร้าน
และนี่ก็เป็นตัวอย่างการใช้งานภาพ และขนาดรูปภาพที่เหมาะสมใน Section ต่างๆ สำหรับการตกแต่งหน้าเว็บไซต์ร้านค้า LnwShop ในบางส่วนที่เรานำมาแนะนำกัน ครั้งหน้าจะมีเทคนิคการตกแต่งร้านค้าอะไรมาแนะนำกันอีก อย่าลืมติดตามกันได้นะคะ
ทั้งนี้ หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับขนาดรูปภาพที่เหมาะสมหรือการตกแต่งหน้าร้าน หรือการใช้งานระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ LnwShop ก็สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่อีเมล Support@LnwShop.com ได้เลยนะคะ