คำถามที่ว่า “การตลาดแบบตรง” คืออะไร แล้วเกี่ยวกับการขายของออนไลน์อย่างไรบ้าง จะเป็นข้อสงสัยสำหรับใครหลาย ๆ คนมานาน วันนี้น้องตะกร้าเลยมีอัพเดทตัวกฎหมายล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับการตลาดแบบตรงมาฝากกันค่ะ
การตลาดแบบตรงคืออะไร?
การตลาดแบบตรง คือ การทำการตลาดเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคผ่านช่องทางใด ๆ ไปถึงผู้บริโภคในระยะไกล ซึ่งผู้บริโภคต้องชำระเงินก่อนที่จะได้รับสินค้าจริง
การตลาดแบบตรง ไม่ใช่ธุรกิจขายตรง ไม่เกี่ยวข้องการการทำธุรกิจแบบเครือข่ายแต่อย่างใด
การตลาดแบบตรงมีผลบังคับกับใครบ้าง?
สำหรับสินค้าหรือบริการ ที่ขายให้กับธุรกิจ เช่น ร้านค้าขายระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ โดยขายให้กับผู้ที่ต้องการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ ไม่ถือว่าเป็นการตลาดแบบตรง แต่หากร้านดังกล่าวมีการขายตุ๊กตาน้องตะกร้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง แบบนี้จะจำเป็นต้องจดทะเบียการตลาดแบบตรง
การขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับการยกเว้น
- การขายสินค้าหรือบริการของบุคคลธรรมดา และมีรายได้ผ่านวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- การขายสินค้าหรือบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ
- กิจการผลิตสินค้า การจ้างงานไม่เกิน 200 คน รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท /ปี
- กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีก การจ้างงานไม่เกิน 100 คน รายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท/ปี
อ้างอิง : กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ
- การขายสินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ที่ได้จดทะเบียนตามด้วยกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
- การขายสินค้าหรือบริการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
ดังนั้น ร้านค้าเทพช็อปที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรง ไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการให้ธุรกิจ ซึ่งเข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง หากมียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน หรือหากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท และขึ้นทะเบียน SMEs กับสสว. แล้ว ก็จะได้รับการยกเว้นตามข้อ 2 โดยร้านค้าสามารถขึ้นทะเบียน SMEs กับสสว. ได้ด้วยตัวเองที่ https://bizportal.go.th
ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียน SMEs กับ สสว. มีอายุการรองรับ 1 ปี และต้องต่ออายุใหม่ทุก ๆ สิ้นเดือน มิถุนายนของทุกปี ร้านค้าที่เคยขึ้นทะเบียน SMEs กับ สสว. สามารถเช็คข้อมูลการขึ้นทะเบียนของตัวเองได้ที่ https://bizportal.go.th/th
เอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียน
วิธีการขึ้นทะเบียน
ช่องทางการให้บริการของหน่วยงาน
- ดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดจาก ocpb.go.th
- ยื่นเอกสารทั้งหมดผ่านช่องทางที่ให้บริการ
- ติดต่อด้วยตนเอง ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
- ทางไปรษณีย์ ส่งถึงสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ช่องทางให้บริการออนไลน์
- ยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ocpbdirect.ocpb.go.th
แหล่งข้อมูล :