เริ่มเข้าสู่ฤดูเฉอะแฉะเมื่อหน้าฝนแวะมาทักทาย การเตรียมพร้อมเบื้องที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นการพกร่มติดใส่กระเป๋าไว้สักคัน อย่างน้อยเพื่อป้องไม่ให้ตัวเราเปียกโฉกไปทั้งตัวเดี๋ยวจะล้มป่วยกันพอดี แต่จะใช้ร่มคันใหญ่แค่ไหนส่วนที่อยู่ต่ำสุดอย่างรองเท้าก็หนีไม่พ้นน้ำฝนเจิ่งนองที่เราต้องเดินเหยียบอยู่ดี ทั้งขี้ดิน ขี้โคลน เศษขยะ พูดแล้วหยี้ขึ้นมาทันที แล้วถ้าน้ำพวกนั้นดันกระเด็นมาโดนรองเท้าคู่โปรดที่ใส่อยู่หละ ! เราจะมีวิธีทำความสะอาดอย่างไรให้กลับมาดูดีเช่นเดิม เหมือนมันไม่เคยฝ่ามรสุมสกปรกในวันฝนพร่ำมาก่อน วันนี้เรามีวิธีทำความสะอาดรองเท้าในช่วงหน้าฝนมากฝากชาว Lnw กันค่ะ
เผยโฉมรองเท้าคู่ใหม่ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
- สิ่งแรกที่คุณต้องทำหลังรองเท้าคู่โปรดผ่านศึกจากการเหยียบย่ำน้ำฝนมา คือให้ใช้น้ำเปล่าล้างรองเท้าให้สะอาด อย่าให้เหลือคราบหรือสิ่งสกปรกค้างอยู่ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้รองเท้าเกิดต่ำหนิ หรือสีในบริเวณนั้นเปลี่ยนไป ห้ามใช้น้ำสบู่หรือผงซักฟองโดยเด็ดขาด
- จากนั้นเช็ดรองเท้าด้วยผ้าสะอาด แล้วนำไปตากในที่ที่มีลมโกรกเท่านั้น ไม่แนะนำให้ให้ใช้ไดร์เป่าผมหรือการตากแดด เพราะอาจทำให้หนังของรองเท้าคุณแตกและแห้งได้คะ
- หากพื้นรองเท้าที่อยู่ด้านในถอดออกมาได้ ให้นำไปทำความสะอาดและตากลมให้แห้งตามวิธีที่กล่ามาข้างต้น
- เวลาตากรองเท้าให้วางเอียง 45 องศากับพื้น และหมั่นเทน้ำออกจากรองเท้าเป็นประจำ เพื่อรองเท้าจะได้แห้งเร็ว
- ไม่ควรสวมใส่รองเท้าขณะที่ยังเปียกหรือชื้นอยู่ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหารองเท้ามีกลิ่นเหม็น และจะทำให้รองเท้าคู่โปรดของคุณเสียทรงอีกด้วย
- หลังจากที่รองเท้าแห้งสนิท ให้นำกระดาษมายัดไว้ที่หัวรองเท้าเพื่อเป็นการรักษาทรงให้เหมือนเดิม แต่หากรองเท้าของคุณเป็นรองเท้าหนังให้นำครีมขัดเงามาบรรเลงบนรองเท้าเสียก่อน แล้วนำไปตากแดดอ่อนๆ อีกสัก 2 ชั่วโมง
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ กับวิธีทำความสะอาดรองเท้าคู่โปรดที่แสนจะง่ายนิดเดียว คราวนี้ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหน หรือน้ำต้องท่วมกรุงเทพฯ อีกครั้ง ก็ไม่หวั่นที่จะใส่รองเท้าคู่โปรดออกไปรับศึกแล้วค่ะ
^________________________________^
**เกรดความรู้คู่เท้า**
เท้านับเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์ เพราะมันประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ จำนวน 26 ชิ้น เท้า 2 ข้างจะมีกระดูกรวมกันทั้งหมด 52 ชิ้น ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย ข้อต่อในเท้าของคนเรามีทั้งหมด 38 ข้อ มีกล้ามเนื้อ 31 มัด มีเส้นเอ็นทั้งหมด 107 เส้น (โอ้โห้…เท้าคู่น้อยๆ ของเรามีเจ้าพวกนี้เยอะขนาดนี้เลยหรอเนี้ย !!)
เท้าเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก ในขณะที่เดินจะมีแรงกระทำต่อเท้าข้างละประมาณ 120% ของน้ำหนักตัว และในขณะวิ่งจะมีแรงกระทำต่อเท้าสูงถึงข้างละประมาณ 275% ของน้ำหนักตัว มีการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนักตัว 68 กิโลกรัม เท้าแต่ละข้างต้องรับน้ำหนักมากถึง 63.5 ตันในขณะเดิน และอาจสูงถึง 100 ตัน เมื่อวิ่งเป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร มีผู้ประมาณการไว้ว่าชั่วชีวิตของมนุษย์ผู้หนึ่งจะใช้เท้าเดินเป็นระยะทางเฉลี่ยถึง 120,000 – 160,000 กิโลเมตร ซึ่งยาวมากกว่า 3 ถึง 4 เท่าของระยะทางรอบโลกเสียอีก (ข้อมูลจาก : ผศ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์ )
ขอบคุณภาพจากร้าน : fashioniinstyle