2013-06-05_18-05-39

หลังจากที่เราได้พูดถึงเทรนด์ใหม่ของผู้ทำเว็บอี-คอมเมิร์ซจากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่นอกเหนือจากทำแพล็ตฟอร์มให้พ่อค้ารายย่อยมาโพสต์ขายของ และขายสินค้าจากโกดังของตัวเอง ล่าสุดก็ได้หันมาขายสินค้าที่กำไรน้อยๆ แต่กินนานๆ อย่างซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งตอนนี้เว็บที่บ้าดีเดือดลั่นส่งถึงเมืองใหญ่ภายใน 3 ชั่วโมงหลังคลิกซื้อคือ jd.com เว็บอี-คอมเมิร์ซรายเก๋าจากจีน

เมื่อฝั่งจีนเป็นผู้ชี้เทรนด์ใหม่แห่งโลกอี-คอมเมิร์ซ ก็ถึงคราวที่ยักษ์ใหญ่จากอเมริกาอย่าง Amazon จะปรับตัวบ้าง โดยวันนี้บริษัทประกาศชัดเจนว่าจะทำซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ในนามว่า AmazonFresh เพื่อขายสินค้าอุปโภคบริโภค ผัก ผลไม้ผ่านเว็บ (อันที่จริง AmazonFresh ได้ทดลองเปิดให้บริการมากว่า 5 ปีแล้วในรัฐซีแอทเทิล แต่เตรียมขยายไปอีก และหากสำเร็จคาดว่าภายในปีหน้าจะครอบคลุมการจัดส่งได้ 20 รัฐ)

2013-06-05_18-08-29

AmazonFresh มี 3 จุดขายหลักที่ลูกค้ามองหา คือ 1. มีของให้เลือกมากมาย 2.ส่งไว 3.ราคาถูก

นอกจากเลือกและสั่งสินค้าบนเว็บแล้วยังมีแอปฯ บนแอนดรอยด์ด้วย

และสำหรับการขนส่งที่ไว ทางเว็บอาศัยรูปแบบใหม่ในการขนส่งนั่นคือ กระจายสินค้าให้บริษัทต่างๆ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่อยากรับงานเล็กๆ น้อยๆ ด้วย (Crowd Sourced Labor) เพื่อการันตีว่าจะส่งถึงทุกหัวมุมถนนในซานฟรานซิสโกภายใน 1-2 ชั่วโมง

การมาครั้งนี้มีคู่แข่งจ่ออยู่แล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บเก๋าที่ทำซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์มาตั้งแต่สมัยดอทคอมบูมอย่าง HomeGrocer.com และ Webvan รวมถึงยักษ์ค้าปลีกจากโลกออฟไลน์อย่าง วอลล์มาร์ท ที่หันมาขายสินค้าผ่านออนไลน์ และไปได้สวยทั้งในตลาดอเมริกาและอังกฤษ คู่แข่งรายถัดมาอย่าง Instacart, paydragon ที่ถึงแม้จะเป็นแค่สตาร์ทอัปกับแอปฯ เล็กๆ แต่ก็มีฐานลูกสำคัญสำหรับคนขี้เกียจออกไปช้อปรออยู่แล้ว

สำหรับ Amazon แล้ว ถือเป็นบริษัทโต 220% ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เป็นข่าวดีและความกดดดันในเวลาเดียวกัน และเมื่อประสบความสำเร็จจากการขายหนังสือและสินค้าทั่วไปแล้ว ก็ต้องออกบุกหาตลาดใหม่ที่ใหญ่ และคุ้นค่าต่อการขยายธุรกิจ เมื่อมองเห็นว่า ธุรกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภคในอเมริกามีมูลค่าตลาดถึง 1.7 แสนล้านบาท ทาง Amazon จึงไม่รอช้า

ทั้งธุรกิจค้าปลีกอย่างของสดและอุปโภคบริโภคที่มักจะมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบระยะยาวได้ เนื่องจากสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม หรือของใช้ ผู้บริโภคมักมีแบรนด์ประจำ และมียอดการสั่งซื้อที่สม่ำเสมอ ซึ่งต่างจากการขายสินค้าอื่นๆ ที่ต้องรอโอกาส หรือฤดูกาล

นอกจากนี้แล้วความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Amazon คือ การไปโกอินเตอร์เปิด amazon.in สำหรับการบุกตลาดใหม่อย่างอินเดียเรียบร้อยแล้ว เริ่มต้นที่การขายหนังสือทั้งของท้องถิ่นและนำเข้าถึง 7 ล้านเล่ม

One Comment

Leave a Reply