การบริหารช่องทางการขาย

เชื่อว่าร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบันมักจะมีช่องทางการขายมากกว่า 1 ช่องทางอยู่แล้ว ซึ่งร้านค้า The Highlight Shop เดือน เม.ย. – มิ.ย. ก็มีหลากหลายช่องทางการขายเช่นเดียวกัน แต่เมื่อมีช่องทางการขายที่หลากหลายแล้ว การบริหารช่องทางขายแต่ละช่องทาง รวมถึงวัตถุประสงค์ทางการตลาดในแต่ละช่องทางก็ย่อมจะต้องแตกต่างกัน บทความนี้เลยจะขอพาไปเจาะแนวคิดการบริหารช่องทางการขายต่าง ๆ ของ ร้าน The Highlight Shop ทั้ง 3 ร้านคือ Compute, G-ShockHitz และ พ.ศ.พัฒนากันค่ะ

การบริหารช่องทางการขาย

ช่องทางการขายที่ร้านเลือกใช้

สำหรับร้าน Compute ทางร้านมีการเลือกใช้ช่องทางการขายทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ โดยช่องทางออฟไลน์จะมีการขายผ่าน Modern Trade ที่มีสาขามากกว่า 80 สาขา ส่วนช่องทางออนไลน์จะมีการใช้ช่องทาง Facebook, Website, Lazada, Shopee และ Youtube

ทางด้านร้าน G-ShockHitz ช่องทางที่ทางร้านใช้ก็จะมีทั้งออนไลน์ และออฟไลน์เช่นกัน โดยออฟไลน์จะใช้ที่ตั้งร้านของตัวเอง ส่วนออนไลน์ จะใช้ตั้งแต่หน้าเว็บไซต์ Shopee, JD Central จนถึง Social Media อย่าง Line OA, Facebook และ Instagram นอกจากนี้ยังมีการทำโฆษณาผ่าน Google Shopping Ads และ Facebook Ads ด้วย

ส่วนร้านพ.ศ.พัฒนาเองก็มีการขายในช่องทางทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยช่องทางออฟไลน์จะขายผ่านร้านหนังสือต่าง ๆ ส่วนฝั่งออนไลน์ก็จะมีเว็บไซต์, Lazada, Shopee, Thaibookfair.com, Facebook, Instagram และทำโฆษณาผ่าน Google Shopping Ads

ช่องทางการขาย ช่องทางการขายของออนไลน์

ความแตกต่างของช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ร้าน Compute  ได้เล่าให้เราฟังว่าการขายผ่านออฟไลน์นั้นลูกค้าได้พูดคุยกับพนักงานขาย ทดลองสินค้า วิธีแก้ไข และสามารถรับสินค้ากลับได้ทันที ส่วนการขายผ่านออนไลน์จะมีข้อดีที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ค้นหาสินค้าที่ต้องการได้ง่าย และประหยัดเวลาในการเดินทางมาเลือกซื้อสินค้า ซึ่งเป็นข้อดีที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองช่องทางตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างกัน การมีทั้งออฟไลน์และออนไลน์จึงทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

คุณถนัดวิทย์ เจ้าของร้าน พ.ศ. พัฒนา ได้เล่าให้เราฟังว่า …การเพิ่มช่องทางออนไลน์ ทำให้ร้าน พ.ศ. พัฒนา สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าเดิม แม้ว่าลูกค้าจะอยู่ห่างไกล แถวบ้านลูกค้าอาจจะไม่มีร้านหนังสือ แต่เขาก็สามารถเข้ามาซื้อหนังสือของพ.ศ.พัฒนาผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น การขายออนไลน์ยังช่วยให้หนังสือเก่า ๆ สามารถกลับมาขายได้อีกครั้ง ลดจำนวนหนังสือ Dead Stock ไปได้เยอะเลยทีเดียว

หนังสือจะมีอายุเมื่ออยู่บนชั้นวางในหน้าร้าน ถึงเวลาก็ต้องปลดออก
แต่บนออนไลน์ชั้นวางเหล่านี้ไม่มีอายุ ลูกค้าสามารถเข้ามาหาเจอได้ตลอดเวลา

ช่องทางการขาย การเปิดเว็บไซต์ขายของออนไลน์

ช่องทางออนไลน์เหมือนกัน แต่ใช้งานแตกต่างกัน

Facebook ไม่ใช่ช่องทางขายให้กับลูกค้าใหม่ แต่เป็นช่องทางการดูแลลูกค้า และแจ้งข่าวสารให้กับลูกค้าเก่า คือสิ่งที่ร้าน Compute ได้เล่าให้กับทีมงาน LnwShop ฟัง และมองว่าธุรกิจทุกธุรกิจ ควรมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ในการซับพอร์ตให้เกิดความน่าเชื่อถือ นอกจากนั้นช่องทางออนไลน์ ก็ทำให้ร้านได้ขยายกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ที่ Modern Trade อาจให้บริการได้ไม่ทั่วถึง ยิ่งในช่วงโควิด จะเห็นได้ว่า คนที่ไม่เคยใช้ออนไลน์มาก่อน หันมาใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อสั่งซื้อสินค้ากันมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่

ส่วนทาง G-ShockHitz ได้เล่าว่า เป้าหมายที่คุณปกรณ์เจ้าของร้าน ได้วางไว้ในการขายของออนไลน์ คือการที่ทำให้เว็บไซต์สามารถขายสินค้าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งคุณปกรณ์ได้เลือกใช้การโฆษณา Google Shopping Ads เพื่อเข้าถึงลูกค้า แล้วส่งลูกค้ามายังหน้าเว็บไซต์ ให้ลูกค้าสั่งซื้อบนหน้าเว็บด้วยตนเอง ซึ่งนั่นจึงทำให้ภาระงานของร้าน G-ShockHitz จากเดิมที่ทางร้านเคยลงโฆษณาทาง Facebook และต้องคอยตอบคำถามการสั่งซื้อ หรือรายละเอียดการขายต่าง ๆ ลดลงไปด้วย ไม่ต้องมานั่งตอบลูกค้าจนถึงตี 1 ตี 2 ก็สามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แถมทางร้านยังแอบกระซิบถึงความคุ้มค่าของการลงโฆษณา Google Shopping Ads มาด้วยว่า ลงทุนใช้งบโฆษณาเพียง 1 หมื่นบาท ก็สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 3 แสนบาทเลยทีเดียว และยังช่วยลดต้นทุน ไม่ต้องจ้างแอดมินเพิ่ม ไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้แอดมินช่วยตอบคำถามลูกค้าอีกด้วยนะคะ!

ทางด้านของพ.ศ.พัฒนา จะใช้การทำ Multi Channel กระจายการขายไปทั้ง Marketplace ต่าง ๆ หน้าเว็บของตัวเอง รวมถึงผ่านร้านหนังสือต่าง ๆ พ.ศ.พัฒนาจะใช้ทุกช่องทางที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นช่องทางในการขาย แต่ก็จะใช้การรวมสต็อกไว้ที่เดียว ก่อนจะใช้เครื่องมือของ LnwShop ในการ sync สินค้าไปยังช่องทางต่าง ๆ

—————————————–

และทั้งหมดนี้ก็คือแนวคิดการบริหารช่องทางการขายของทั้ง 3 ร้านค้า The Highlight Shop ประจำเดือน เม.ย. – มิ.ย. ค่ะ จะเห็นได้ว่าแต่ละร้านก็มีกลยุทธ์การใช้ช่องทางการขายที่แตกต่างกัน แต่ทั้ง 3 ร้านก็ยังมียอดขายเป็นที่น่าพึงพอใจได้ สำหรับร้านค้าอื่น ๆ ที่ได้มาอ่าน ลองนำกลยุทธ์ของร้านเหล่านี้ไปปรับใช้ดูได้นะคะ ใช้แล้วดีไม่ดียังไง หรือมีการปรับให้เหมาะกับร้านของตัวเองอย่างไรบ้าง ก็แวะมาแชร์ให้ฟังกันได้นะคะ ^^

อ่านบทความแชร์แนวคิดการขายของออนไลน์ของทั้ง 3 ร้านค้าได้ที่นี่