fasspass0

เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสเข้าไปเรียนคอร์สดีๆ กับท่านวิทยากรผู้มากความสามารถอย่าง อ.ท้อป (สุธาทร สุทธิสนธิ์) หรือ @toppercool เป็นหลักสูตรทางด่วนกลยุทธ์การตลาดดิจิตอลสำหรับธุรกิจแฟชั่นและแกดเจ็ต เลยจะมารีวิวแบบคร่าวๆ ให้ดูค่ะ ว่าในคอร์สนี้เค้าสอนอะไรบ้าง

หลักสูตรการสอนอย่างละเอียด สามารถเข้าไปดูได้ที่ crayon.in.th เลยค่ะ

คอร์สนี้เป็นคอร์สแบบ Intensive สุดๆ มาหนึ่งวันเต็มได้อะไรกับไปเยอะทีเดียวค่ะ

fasspass1

 ผู้ที่เข้ามาอบรมก็มาจากหลากหลายที่ มีทั้ง

  1. เจ้าของธุรกิจ SME อย่าง ขาย Accessories ของอุปกรณ์มือถือ-สมาร์ทโฟน ขายอะไหล่ยนต์ กระเป๋าแฮนด์เมด ขายเสื้อผ้ามือสองนำเข้าจากญี่ปุ่นโดยขายแบบชั่งกิโลขาย สกินแคร์สารสกัดเทียมที่ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ธุรกิจก่อสร้าง
  2. คนที่ทำงานอยู่ในสายออนไลน์อยู่บ้างแล้ว
  3. คนที่มาหาแรงบันดาลใจว่าจะขายอะไรออนไลน์ หรือมีของอยู่แล้วจะขายออนไลน์อย่างไรดี

เริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

ตอนแรกเราก็มาปูพื้นฐานกันก่อนว่า ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุค Web 2.5 (เกือบจะถึง 3.0 แล้ว แต่ยังไปไม่ถึง) หลายคนอาจสงสัยว่า Web 3.0 คืออะไรนะ? อธิบายง่ายๆ ว่า เป็นเว็บที่สามารถเดาพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้ แล้วดึง content ที่คิดว่าผู้ใช้งานคนนั้นสนใจขึ้นมาให้ดู เอาที่ใกล้เคียงที่สุดตอนนี้ ลองนึกถึงโฆษณาอย่าง facebook ads ดูก็ได้ค่ะ เจ้าตัว facebook เนี่ยมันดูว่าเราชอบอะไร แล้ว like fanpage แบบไหน ก็จะดึง ads แบบนั้นขึ้นมา (แต่เอาจริงๆ ads พวกนี้สามารถ customize ได้นะ)

แล้วก็มาทำความรู้จักกับ PAID OWNED EARNED

Source : https://c2.staticflickr.com/4/3326/5754183285_225f13ee15_z.jpg
Source : https://c2.staticflickr.com/4/3326/5754183285_225f13ee15_z.jpg

จำง่ายๆ ว่า

  • PAID เราต้องจ่ายเงินซื้อ เช่น Banner, Adwords, facebook Ads, TV เป็นต้น
  • OWNED สิ่งที่เราเป็นเจ้าของ เราควบคุมมันได้ เช่น เว็บไซต์, Mobile Application (ที่เราไม่ได้ยืม service คนอื่นมาใช้), Blog

facebook page เป็นของเราแค่ส่วนเดียว ให้ลองคิดถึง facebook reach ที่มันลดเอาๆ อยู่เหนือความควบคุมใดๆ ของเรา

  • EARNED สิ่งที่คนอื่นเค้าพูดถึงเรา

สิ่งที่เราต้องรู้เกี่ยวกับลูกค้าของเรา

  1. รู้จักตัวตนเค้าทางกายภาพ อายุเท่าไหร่ รายได้เป็นยังไง ทำอาชีพอะไร เพศไหน การศึกษาระดับใด จะได้รู้ว่า เรากำลังขายของให้ใครอยู่
  2. รู้จักภูมิศาสตร์บ้านช่องของเค้าว่าอยู่ที่ไหน ภาคอะไร จะได้นำเสนอการสื่อสาร สินค้า บริการที่เหมาะสมออกไป
  3. รู้จักพฤติกรรมของลูกค้า ที่มักเกิดจาก ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และประสบการณ์ที่เคยพบเจอมา
  4. ทำความรู้จักลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการทำแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และอื่นๆ

30836352_s

ลูกค้าต้องการอะไรจาก e-commerce website

  1. มี domain name ที่น่าเชื่อถือ
  2. speed ดี เวลาที่ใช้ในการโหลด website มีความรวดเร็ว (เพราะสมัยนี้คนเราใจร้อนมากถึงมากทีสุด)
  3. ชัดเจนใน branding เข้า website มาปุ๊บ รู้ทันทีว่าเราขายอะไร
  4. promotion ที่โดนใจ
  5. มีความน่าเชื่อถือในการชำระเงิน
  6. การนำ social media มาเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากขึ้น เช่น facebook comment, facebook login
  7. มี customer service ที่ดี
  8. สามารถขอคืนสินค้าหรือขอคืนเงินได้ หากพบว่าของที่ลูกค้าซื้อไปมีปัญหา
  9. ไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ซื้อได้ (แต่ถ้าเป็นสมาชิกอาจได้รับสิทธิพิเศษอะไรมากกว่า)

 ทำยังไงให้คนเข้าเว็บไซต์ของเราเยอะขึ้น

  1. เนื้อหาที่มีคุณภาพ ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มน้ำหนักในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้มากขึ้น
  2. เนื้อหาควรมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการติดตาม
  3. ปรับแต่งเนื้อหาของเราให้ Google หาเจอ
  4. ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่เป็นประโยค เป็นสำนวน ไม่ใช่คำสั้นๆ
  5. มี Social Conversation (Google Plus มีประโยชน์มากนะ ลองดูสิ)
  6. Mobile Support (จะเป็น Mobile responsive หรือ Mobile site ก็แล้วแต่) สมมติว่า website ของเราทำด้วย flash (ที่มีลูกเล่นสวยงาม) แต่ไม่สามารถเปิดได้ใน Mobile เวลาที่ทำการ search ผ่าน Google แม้จะติดอันดับใน Desktop แต่ก็จะไม่ติดอันดับใน Mobile ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกับ Flash แต่ว่าเขียนด้วย HTML ที่สามารถเปิดใน Mobile ได้ เราเรียกว่า HTML5 ลองไปศึกษากันดูนะคะ
  7. Content network มีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น กระทู้อ้างอิง, Blog, Google Plus, Youtube ปล่อยออกไปแล้วทิ้ง link ให้กลับมายังเว็บของเรา
  8. off page authority เว็บที่วิ่งกลับมาหาเราต้องเป็นเว็บที่มีคุณภาพ ถ้าเป็นเว็บที่ไม่มีคุณภาพแล้วล่ะก็ อันดับเราก็มีสิทธิ์ร่วงไปด้วยเหมือนกัน
  9. ถ้ามีหน้าร้านขาย ให้ปักหมุดลงไปใน Google Place (google.co.th/business)
  10. เพิ่ม subscribe email, news letter ใช้ email marketing tools ในการส่งและวิเคราะห์ (ถ้าเป็น gmail, hotmail, พวกอีเมลฟรีทั้งหลายจะทำไม่ได้)

22447502_s

 

ใช้ social media ในการสื่อสาร กระตุ้น traffic ให้กลับมาที่ website โดยเทรนด์ของ social network สามารถติดตามได้ที่ Zocial Inc หรือ Zocial Rank ได้เลยค่ะ

 

ข้อสรุปโดยย่อของการใช้ social media คือ

  1. สื่อสารด้วย content เชิงบวกเสมอ มีการให้ข้อมูลที่เพียงพอ เข้าใจง่าย หากแนบลิงค์ไปกับการโพสท์ ควรแนบลิงค์ที่วัดผลได้ เช่น bitly.com
  2. อย่าลืม engage กับ Fan อยู่เสมอ ให้คอย monitor อย่าเพิกเฉย อย่าตอบห้วนๆ ควรมีการตอบสนองภายใน 2 ชั่วโมง
  3. content ประเภทรูปภาพ มักมี engagement ที่สูง การเล่าเรื่องด้วยภาพก่อให้เกิดการสนใจและจดจำ กระตุ้นให้เกิดการบอกต่อ ภาพบางภาพถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีกว่าคำพูด
  4. ใช้ #hashtag ในการสร้างแคมเปญได้ (facebook สามารถใช้และ search ด้วยภาษาไทยได้ แต่ใน Instagram ไม่สามารถ search ได้)
  5. ควรมี content calendar ควบคู่กับการใช้ content matrix

 

Social Consumer เป็นคนยังไงกันนะ?

  1. เรียนรู้แบรนด์จาก social media
  2. บริโภคข่าวสารผ่านทาง social media
  3. ชอบการโต้ตอบ มากกว่ารอฟังข้างเดียว ถ้ารอนานจะไม่พอใจ ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว
  4. เชื่อในตัว Influencer มากกว่าเพื่อนหรือคนสนิท
  5. คาดหวังว่าจะเห็นแบรนด์อยู่ในที่ๆ เค้าอยู่ (อยู่บน social network เดียวกัน)

 

ปัจจัยที่ทำให้คนติดตามร้านค้าออนไลน์

  1. สินค้าน่าสนใจ
  2. โปรโมชั่นโดนใจ
  3. การพูดคุยสื่อสารถูกใจ

ปัจจัยที่คนตัดสินใจซื้อสินค้ากับเรา

  1. ราคาตรงใจ
  2. โปรโมชั่นโดนใจ
  3. สื่อสารถูกใจ
  4. จ่ายเงินมั่นใจ
  5. บริหารจัดการทันใจ

 

สิ่งที่ปรากฏบนออนไลน์ จะอยู่กับเราตราบนานเท่านาน

ไม่มีอะไรกลั่นกรองได้ ผู้ชมสามารถเข้าถึงเราได้ 24/7

 

แถม Tips พิเศษสำหรับพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย ใน…

การจัดการกับปัญหา(ดราม่า)บน Pantip pien020

(สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ Social media อื่นได้)

  1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์
  2. อย่าพยายามแจ้งลบกระทู้ (ยกเว้นกระทู้นั้นจะเป็นคำหยาบคาย ผรุสวาทมาก เข้ากรณี หมิ่นประมาท สามารถแจ้งลบได้)
  3. รีบแสดงตัว ในกรณีเปิดข้อพิพาท โดยผู้รับผิดชอบ หรือ Brand official account
  4. ติดต่อลูกค้าหรือคู่กรณีหลังไมค์ เพื่อจัดการปัญหา อย่าต่อปากต่อคำบนออนไลน์ อย่าแถ อย่าขู่
  5. ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าไม่ผิดจริงก็ควรขอโทษและหาพยานหลักฐานอ้างอิง
  6. ชี้แจงลงกระทู้/ออนไลน์ เมื่อปิดเคสได้ ถ้ามีหลักฐานอะไรซักอย่างที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยก็จะดีมาก
  7. ดราม่ามักจะแรงอยู่แค่ 1-2 สัปดาห์ อย่าปิดเรื่อง อย่าปิดบังข้อมูลต่อผู้รับผิดชอบ อย่าสนใจไทยมุง

 

เทรนด์ดิจิตอลเปลี่ยนเสมอ ต้องคอยอัพเดทให้ทัน แต่ให้เลือกใช้ในสิ่งที่เข้ากับแบรนด์และลูกค้าของเรามากที่สุดนะคะ สำหรับนักธุรกิจ SME ท่านใดต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปติดตามได้ที่ crayon.in.th เลยค่ะ หากใครมีทริปอะไรดีๆ โดนๆ อย่าลืมมาแชร์กันด้วยนะคะ :)

Leave a Reply