2013-09-21_16-29-21

การตั้งราคาขายสินค้าที่จะบอกแต่ว่า “ถูกที่สุด” ก็ยากที่ผู้บริโภครุ่นใหม่จะเชื่อ ทั้งยังนำมาซึ่งคำถามเรื่องคุณภาพ และความคุ้มค่าในการตัดสินใจซื้อด้วย ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำ 3 กลยุทธ์ง่ายๆ สำหรับการตั้งราคาขายสินค้า เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่าที่สุดกับเงินที่จ่ายไปจริงๆ ดังนี้

1. เปรียบเทียบกับสินค้าใกล้เคียง

2013-09-21_16-23-33

โดยธรรมชาติของสินค้าแล้ว มักจะมีสินค้าที่ราคาและสเปคใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้าที่ของคนขายต้องทำอย่างไรก็ได้ ให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าที่เราจะขายนั้น “คุ้มค่ากว่า” สินค้าอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน

วิธีการง่ายๆ คือ การนำภาพ และสเปคสินค้าที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบให้เห็นความเหนือกว่า ในราคาเพียงครึ่งเดียวหรือต่ำกว่า

ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็เป็นที่ได้ผล โดยเฉพาะกับการขายมือถือแอนดรอยด์แบรนด์เสี่ยวหมี่ ที่มีราคาเพียง 1 ใน 3 ของไอโฟน แต่สเปคใกล้เคียงกันมาก

2. บอกความคุ้มค่าด้วยราคาเฉลี่ยรายวัน

2013-09-21_16-29-21

สินค้าที่ราคาสูง ลูกค้าก็หวังที่จะซื้อไปใช้ในระยะยาว ดังนั้น การทำให้ลูกค้าเห็นว่าคุ้มค่าตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ ก็คือ การช่วยลูกค้าคำนวนราคาที่ต้องจ่ายไปในแต่ละวัน เช่น เครื่องกรองน้ำ ปกติแล้ว ราคาหลักหมื่น แต่ถ้าเราสื่อสารด้วยการคำนวนราคาเป็นรายวัน ตลอด 5 ปีที่เครื่องกรองน้ำนี้รับประกัน ทำให้ลูกค้าเห็นว่า แต่ละวันเราจ่ายไม่ถึง 5 บาท ทั้งยังได้สุขภาพดีตลอดทั้งปี เป็นต้น

ตัวเลขทางจิตวิทยานี้จะช่วยให้ลูกค้าเห็นภาพและคล้อยตามได้ง่ายขึ้น

3. เทียบราคากับของอื่นๆ ที่ถูกกว่า

2013-09-21_16-26-52

นอกเหนือจากการช่วยคำนวนราคาเพื่อเน้นความคุ้มค่ารายวันแล้ว อีกกลยุทธ์หนึ่งที่องค์กรการกุศลมักใช้กันก็คือ การเปรียบเทียบราคาที่จ่ายไปรายวันกับค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายประจำและมักจะแพงกว่า เช่น ค่ากาแฟ ค่าทางด่วน เป็นต้น

ตัวอย่าง การขายรถไฟฟ้า สามารถนำตัวเลขของการจ่ายค่ากาแฟวันละ 30 บาท มาเทียบกับค่าชาร์จไฟให้กับรถที่ครั้งหนึ่งไม่ถึง 10 บาท เป็นต้น ทำให้ลูกค้าเห็นภาพชัดเจนว่ารถของเราคุ้มค่าในระยะยาวจริงๆ

ชวนอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับการขายของออนไลน์อีกมาก ที่นี่

 

Leave a Reply